ผู้ติดตาม

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ที่2 กฏหมายแพ่งและกฏหมายอาญา

กฏหมายแพ่งและกฏหมายอาญา
กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำอย่างใดเป็นความผิด และกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ด้วย
กฎหมายอาญานั้นนอกจากที่ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งถือว่าเป็นกฏหมายหลักของประเทศแล้ว ยังรวมกฏหมายอื่นๆซึ่งมีลักษณะดังกล่าว อันได้แก่ พ.ร.บ. อาวุธปืน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ร.บ.การค้าประเวณี เป็นต้น
ลักษณะของกฎหมายอาญา
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน ซึ่งได้แก่ กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน
วัตถุประสงค์ของกฎหมายอาญา
กฎหมายอาญามีวัตถุประสงค์ลงโทษผู้กระทำความผิดเพื่อแก้ไขปรับปรุงผู้กระทำความผิดเพื่อแก้ไขปรับปรุงผู้กระทำผิดให้เป็นคนดี เพื่อข่มขู่ เพื่อแก้แค้นทดแทนและตัดออกจากสังคมความผิดทางอาญา
ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้


กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน

กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน

1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น

กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋ เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้

กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้
2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน
2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา


กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้


3. โทษทางอาญา
1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย
2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
กรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
กรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
4.3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
อนึ่ง “การกระทำ” ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา 4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด

1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”
2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” การลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาท

บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ

โดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกัน
เหตุยกเว้นโทษทางอาญา
การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
1. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
2. การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
3. การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
4. การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
5. สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
6. เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด
เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ
6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
เด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก ผู้กระทำความผิดด้วย กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
สำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้
6.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้
6.2 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น
1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป
2) เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
3) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
4) มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
5) กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
6) มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม
7) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม
6.3 เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด
6.4 เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้น
กรณีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3


สรุปสาระสำคัญ
1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
3. กักขัง 4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน
6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี


กฎหมายแพ่งในชีวิตประจำวัน


1. กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กฎหมายแพ่งของไทยบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมายรวมกับกฎหมายพาณิชย์ รวมเรียกว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระพอสังเขป ได้ดังนี้
1.1 บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
1.1.1 บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายตามธรรมชาติ หรือตายโดยการสาบสูญ (กรณีปกติ 5 ปี และกรณีไม่ปกติ 2 ปี คือ อยู่ในระหว่างการรบสงคราม ประสบภัยในการเดินทาง เหตุอันตรายต่อชีวิต)
1.1.2 นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
1) กระทรวง ทบวง กรม
2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
4) บริษัทจำกัด
5) มูลนิธิ สมาคม
ข) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ได้แก่ นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์
1.2 ทรัพย์ กฎหมายได้แยกลักษณะของทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1.2.1 สังหาริมทรัพย์ ได้แก่
ก) ทรัพย์ทั้งหลายอันอาจเคลื่อนที่ได้ จากที่แห่งหนึ่งไปแห่งอื่น ไม่ว่าเคลื่อนด้วยแรงเดินแห่งตัวทรัพย์นั้นเอง หรือ ด้วยกำลังภายนอก เช่น
1) เคลื่อนที่ด้วยแรงของทรัพย์นั้นเอง เช่น หมู ช้าง วัว ควาย ฯลฯ
2) เคลื่อนด้วยกำลังภายนอก เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ
ข) กำลังแรงแห่งธรรมชาติอันอาจถือเอาได้ เช่น ก๊าซ กระแสไฟฟ้า
ค) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิจำนำ สิทธิจำนอง สิทธิเครื่องหมายการค้า ฯลฯ
1.2.2 อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่
1) ที่ดิน
2) ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น เช่น ตึก โรงเรือน บ้าน ไม้ยืนต้นต่างๆ ฯลฯ
3) ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น หิน กรวด ทราย
4) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
1.3 นิติกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายและใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
การแสดงเจตนาของนิติกรรมอาจจะแสดงด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือการนิ่งก็ได้
นิติกรรมแม้จะทำด้วยใจสมัคร ก็มีข้อบกพร่อง ถ้ากฎหมายเข้าไปควบคุมและไม่อนุญาตให้ทำ โดยมี 2 ลักษณะ
1. โมฆะกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ลงไป โดยเสียเปล่า ไม่มีผลผูกพันธ์ใดๆ ได้แก่
1.1 นิติกรรมที่ต้องห้ามโดยกฎหมายชัดแจ้ง เช่น ทำสัญญาจ้างให้กระทำผิดกฎหมาย จ้างฆ่าคน
1.2 นิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย เช่น ทำสัญญาซื้อขายดวงอาทิตย์
1.3 นิติกรรมที่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
1.4 นิติกรรมผิดแบบ เช่น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ การเช่าซื้อต้องทำหนังสือ หากไม่ปฏิบัติก็ตกเป็นโมฆะ
2. โมฆียกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลต่อคู่กรณี แต่ไม่สมบูรณ์โดยกฎหมาย เนื่องจากความสามารถของผู้กระทำนิติกรรม เช่น ผู้เยาว์ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้ไร้ความสามารถ เป็นต้น หากมีการให้การรับรอง นิติกรรมนั้นก็สมบูรณ์ หรือ บอกล้างได้ภายใน 10 ปี ก็จะตกเป็นโมฆะกรรม
1.4 สัญญา เป็นนิติกรรมชนิดหนึ่ง สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีคู่สัญญาถูกต้องตามสาระสำคัญ และมีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกำหมาย หรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่
1.4.1 สัญญากู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
1.4.2 สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขาย คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงจะชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย หากพูดถึงการซื้อขาย ก็จะต้องกล่าวถึง สัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งส่วนให้จะทำสัญญากันก่อน ก่อนซื้อขายส่งมอบทรัพย์สินกันจริง หลักเกณฑ์พิจารณาได้ดังนี้
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขาย ทรัพย์สินประเภท อสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางเงินมัดจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ และกฎหมายยังบังคับถึง สัญญาซื้อขาย สังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปด้วย ที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (พนักงานที่ดิน) หากไม่ทำถือว่าเป็นโมฆะ
1.4.3 สัญญาขายฝาก
สัญญาขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ขาย มีสิทธิไถ่ถอนได้ทรัพย์คืนตามเวลาที่กำหนด หากไม่ไถ่ถอนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ก็จะตกไปยังผู้ซื้อนับตั้งแต่เวลาที่ทำสัญญากัน
1.4.4 สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อ หมายถึง สัญญาที่เจ้าของทรัพย์ เอาทรัพย์ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือให้ทรัพย์สินนั้นแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไข ว่าต้องชำระเงินครบตามคราวที่กำหนด และที่สำคัญ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นถือเป็นโมฆะ
เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า 2 งวดติดต่อกัน หรือผู้เช่าซื้อผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ โดยผู้ให้เช่าซื้อได้เงินค่าเช่าที่ชำระไปแล้วทั้งหมดและเรียกทรัพย์คืนได้
1.4.5 สัญญาจำนอง
สัญญาจำนอง หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สิน ประเภท อสังหาริมทรัพย์ เรือ แพ หรือ เครื่องจักร ไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้
ลักษณะสำคัญของสัญญาจำนอง
1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนอง
2. ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
3. ผู้จำนองจะนำทรัพย์สินที่ติดจำนองไปจำนองแก่ผู้อื่นอีกในระหว่างที่สัญญาจำนองอันแรกยังมีอายุอยู่ก็ได้
1.4.6 สัญญาจำนำ
สัญญาจำนำ หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนำ ส่งมอบทรัพย์สินประเภท สังหาริมทรัพย์ แก่ผู้รับจำนำและตกลงว่าจะมาไถ่ถอนตามวันและเวลาที่กำหนด หากไม่มาไถ่ถอน ผู้รับจำนำมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น
1.4.7 สัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกัน หมายถึง การที่ผู้ค้ำประกันทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่า เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะชำระหนี้แทน สัญญาค้ำประกัน ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
1.5 ครอบครัว
1.5.1 การหมั้น หมายถึง การที่ฝ่ายชาย ตกลงกับฝ่ายหญิง ว่าจะสมรสกับหญิงนั้น โดยมีของหมั้นเป็นประกัน สาระสำคัญของการหมั้น
1. การหมั้นนั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์จะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง
2. ถ้าหมั้นแล้วสมรส ของหมั้นจะกลายเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายหญิง
3. ถ้าหมั้นแล้วไม่สมรส
3.1 เนื่องจากความผิดของฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงยึดของหมั้นได้
3.2 เนื่องจากความผิดของฝ่ายหญิง หญิงต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย ชายเรียกสินสอดคืนได้
3.3 ฝ่ายที่เสียหายเรียกค่าทดแทนได้
3.4 จะฟ้องให้ศาลบังคับให้มีการสมรสไม่ได้
1.5.2 การสมรส
1. การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ หากอายุต่ำกว่านี้ต้องให้ศาลอนุญาต
2. การสมรส จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ จดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน
ผู้ที่กฎหมายห้ามสมรส
1. ชายหรือหญิงที่วิกลจริต หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2. ชายหญิงที่เป็นญาติสืบสายโลหิตเดียวกัน เช่น พ่อแม่ – ลูก หรือ พี่ – น้อง ที่มีพ่อแม่ร่วมกัน
3. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม
4. ชายหรือหญิงที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว
หญิงที่เคยสมรสแล้ว เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงไม่ว่า เพราะสามีตาย หรือหย่า จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อ
1. การสมรสได้สิ้นสุดลงไปอย่างน้อย 310 วัน
2. สมรสกับคู่สมรสเดิม
3. คลอดบุตรในระหว่างนั้น
4. มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ตั้งครรภ์
5. ศาลสั่งให้สมรสได้
การสิ้นสุดของการสมรส
1. ตาย ไม่ว่าจะตายโดยธรรมชาติ หรือสาบสูญ
2. การหย่า
2.1 การหย่าโดยความยินยอมกันทั้งสองฝ่าย ต้องทำเป็นหนังสือ โดยมีพยานอย่างน้อย 2 คน หรือ จดทะเบียนหย่า
2.2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
- เพราะมีอีกฝ่ายหนึ่งมีความผิด เช่น สามีอุปการะยกย่องหญิงอื่นฉันท์ภรรยา ภรรยามีชู้ สามีหรือภรรยาไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ ประพฤติชั่ว
- เพราะการสาบสูญ หรือ ความเจ็บป่วย เช่น ร่วมประเวณีกันไม่ได้
1.5.3 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
1. บุคคลผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี หากผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือ ผู้แทน โดยชอบธรรม และคู่สมรส ด้วย (ยกเว้นคู่สมรสวิกลจริตหรือสาบสูญเกินกว่า 1 ปี )
2. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ ถ้าจดทะเบียนตามกฎหมาย บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกำหมายทุกประการ ขณะเดียวกันก็ไม่เสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ให้กำเนิด กฎหมายถือว่า บิดา-มารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับตั้งแต่วันที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น
3. การเลิกรับบุตรบุญธรรม จะเลิกได้เมื่อทั้งคู่ยินยอมซึ่งกันและกัน หากบุตรบุญธรรมอายุต่ำกว่า 15 ปี จะฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ เว้นแต่ผู้มีสิทธิให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมยินยอม
4. เมื่อเลิกรับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมกลับคืนสู่ฐานะในครอบครัวเดิม
1.5.4 มรดก
1. มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่เจ้าของมรดกตายหรือสาบสูญ
2. ทายาท
2.1 ทายาทโดยธรรม ได้แก่ คู่สมรส และญาติสนิท สิทธิการรับมรดกจะแบ่งให้ลดลงตามความห่างของญาติ ถ้าเจ้าของมรดก มีบิดามารดา คู่สมรสและบุตรทุกคน จะได้คนละเท่ากันคนละส่วน
2.2 ทายาทโดยพินัยกรรม
ในกรณีเจ้าของมรดก มีคู่สมรสต้องแบ่งทรัพย์สินแก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือจึงเป็นมรดกตกทอดต่อไป
2.3 ผู้ที่จะทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุ 1 5ปีขึ้นไป และต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
2.4 การเสียมรดก
2.4.1 ทายาทโดยชอบธรรมยักย้ายถ่ายเท ปิดบังทรัพย์มรดก โดยทุจริต
2.4.2 ทายาทตามพินัยกรรม หลอกลวงหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมขึ้น

ก้าวทันโลกศึกษา1

กฎหมายคืออะไร ?


เชื่อได้เลยว่าทุกคนหรือแทบจะทุกคนในสังคมคงจะรู้จักคำๆนี้เป็นอย่างดี แต่หากจะให้อธิบายความหมายของคำนี้ หลายๆคนคงไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ ซึ่งจริงๆแล้วแม้แต่ในทางวิชาการก็มีการให้นิยามความหมายแตกต่างกันออกไปมากมาย เนื่องจากเป็นการยากที่จะนิยามความหมายออกมาให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด แต่พอจะสรุปได้ดังนี้
กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม มนุษย์ถือได้ว่าเป็นสัตว์สังคมจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่เนื่องจากความคิด อุปนิสัย สภาพแวดล้อม เพศ ฯลฯ ที่แตกต่างกันไป จึงจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย กฎหมายบางอย่างก็กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตามในแนวทางเดียวกัน ก็จะสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นอีกด้วย เหล่านี้ถือเป็นเป้าหมายอันสำคัญของสังคม ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้เมื่อคิดย้อนกลับไปแล้ว ก็จะมาจากคนในสังคมนั่นเอง





ความสำคัญของกฏหมาย


กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้
1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย


3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม


4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ

องค์ประกอบของกฏหมาย




ประชาชน ได้แก่ ผู้กระทำผิด หรือผู้เสียหาย ดังนั้นประชาชนต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฏหมายในชีวิตประจำวันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจ ได้แก่ เจ้าพนักงานที่กฏหมายให้อำนาจและหน้าที่ในการใช้กฏหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้

พนักงานฝ่ายปกครอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน จับกุม ป้องกัน ปราบปรามผู้กระทำผิด
ตำรวจ ตามประมวลกฏหมายอาญา ตำรวจมีหน้าที่สืบสวน จับกุม สอบสวน เปรียบเทียบปรับ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมหรือควบคุมบุคคลที่ทำความผิดทางแพ่ง
เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจจับกุม ป้องกัน ปราบปรามการกระทำผิดตามกฏหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง เช่น พนักงานป่าไม้ ตำรวจศุลกากร เป็นต้น
พนักงานอัยการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนว่าสมควรฟ้องหรือไม่ในคดีอาญา และทำหน้าที่เป็นทนายโจทย์หรือทนายจำเลย ว่าความให้ส่วนราชการในคดีแพ่ง ทนายความ คือ นักกฏหมายที่จดทะเบียนและได้รับอนุญาต โดยมีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงจากฝ่ายโจทย์หรือจำเลยเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณา ศาลยุติธรรม คือ ผู้ที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษา ซึ่งมี 3 ระดับ คือ ผู้พิพากษาชั้นต้น ผู้พิพากษาชั้นอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลฏีกา พนักงานบังคับคดีและพนักงานราชทัณฑ์ มีหน้าที่บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล





ประเภทของกฏหมาย
(๑) พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี (๒) พิจารณาโดยพิจารณาจากลักษณะแห่งการใช้กฎหมาย
๑. การแบ่งแยกประเภทโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี กล่าวคือ แบ่งแยกโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ทางกฎหมาย หรือ “นิติสัมพันธ์” ระหว่างคู่กรณี/คู่สัญญา ได้แก่ (๑) กฎหมายเอกชน (Private Law) (๒) กฎหมายมหาชน (Public Law) (๓) กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิ หน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ซึ่งสังเกตได้ว่า ฐานะของคู่กรณี (ประธานและ/หรือกรรม) มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน กฎหมายเอกชนสามารถยกตัวอย่างกฎหมายที่สำคัญที่เรียกในหมู่นักนิติศาสตร์ว่า “กฎหมายสี่มุมเมือง” ได้ดังนี้
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ทางกฎหมายของเอกชนทางแพ่งและทางพาณิชย์ พิจารณาได้จากบรรพ (หมวด) ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๖ บรรพ ๑๗๕๕ มาตรา ดังต่อไปนี้
บรรพ ๑ หลักทั่วไป (มาตรา ๑-๑๙๓) แบ่งออกเป็น ๖ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ ๒ บุคคล
ลักษณะ ๓ ทรัพย์
ลักษณะ ๔ นิติกรรม
ลักษณะ ๕ ระยะเวลา
ลักษณะ ๖ อายุความ
บรรพ ๒ หนี้ (มาตรา ๑๙๔-๔๕๒) แบ่งออกเป็น ๕ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ ๒ สัญญา
ลักษณะ ๓ จัดการงานนอกสั่ง
ลักษณะ ๔ ลาภมิควรได้
ลักษณะ ๕ ละเมิด
บรรพ ๓ เอกเทศสัญญา (มาตรา ๔๕๓-๑๒๙๗) แบ่งออกเป็น ๒๓ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ ซื้อขาย
ลักษณะ ๒ แลกเปลี่ยน
ลักษณะ ๓ ให้
ลักษณะ ๔ เช่าทรัพย์
ลักษณะ ๕ เช่าซื้อ
ลักษณะ ๖ จ้างแรงงาน
ลักษณะ ๗ จ้างทำของ
ลักษณะ ๘ รับขน
ลักษณะ ๙ ยืม
ลักษณะ ๑๐ ฝากทรัพย์
ลักษณะ ๑๑ ค้ำประกัน
ลักษณะ ๑๒ จำนอง
ลักษณะ ๑๓ จำนำ
ลักษณะ ๑๔ เก็บของในคลังสินค้า
ลักษณะ ๑๕ ตัวแทน
ลักษณะ ๑๖ นายหน้า
ลักษณะ ๑๗ ประนีประนอมยอมความ
ลักษณะ ๑๘ การพนันและขันต่อ
ลักษณะ ๑๙ บัญชีเดินสะพัด
ลักษณะ ๒๐ ประกันภัย
ลักษณะ ๒๑ ตั๋วเงิน
ลักษณะ ๒๒ หุ้นส่วนและบริษัท
ลักษณะ ๒๓ สมาคม
บรรพ ๔ ทรัพย์สิน (มาตรา ๑๒๙๘-๑๔๓๔) แบ่งออกเป็น ๘ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ ๒ กรรมสิทธิ์
ลักษณะ ๓ ครอบครอง
ลักษณะ ๔ ภาระจำยอม
ลักษณะ ๕ อาศัย
ลักษณะ ๖ สิทธิเหนือพื้นดิน
ลักษณะ ๗ สิทธิเก็บกิน
ลักษณะ ๘ ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
บรรพ ๕ ครอบครัว (มาตรา ๑๔๓๕-๑๕๙๘) แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ การสมรส
ลักษณะ ๒ บิดามารดากับบุตร
ลักษณะ ๓ ค่าอุปการะเลี้ยงดู
บรรพ ๖ มรดก (มาตรา ๑๕๙๙-๑๗๕๕) แบ่งออกเป็น ๖ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ ๒ สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
ลักษณะ ๓ พินัยกรรม
ลักษณะ ๔ วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
ลักษณะ ๕ มรดกที่ไม่มีผู้รับ
ลักษณะ ๖ อายุความ
กฎหมายอาญา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคม ว่าการกระทำอย่างไรต้องห้ามกระทำ หากกระทำต้องรับโทษ ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๓ ภาค
ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป (มาตรา ๑-๑๐๖) แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
ลักษณะ ๒ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ
ภาค ๒ ความผิด (มาตรา ๑๐๗-๓๖๖) แบ่งเป็น ๑๒ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ลักษณะ ๒ ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
ลักษณะ ๓ ความผิดเกี่ยวกับความยุติธรรม
ลักษณะ ๔ ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
ลักษณะ ๕ ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ลักษณะ ๖ ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ลักษณะ ๗ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
ลักษณะ ๘ ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ลักษณะ ๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ลักษณะ ๑๑ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
ลักษณะ ๑๒ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ภาค ๓ ลหุโทษ (มาตรา ๓๖๗-๓๙๘)
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงวิธีการหรือขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีความแพ่ง การฟ้องร้องบังคับคดีในทางทรัพย์สินหรือบังคับให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือห้ามกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด มีขั้นตอนตั้งแต่การฟ้องคดี การยื่นฟ้องคดี การไต่สวนมูลฟ้อง การชี้สองสถาน การสืบพยาน การพิจารณาคดีของศาล การชั่งน้ำหนักคำพยาน การพิจารณาพิพากษา การอุทธรณ์ ฎีกา ตลอดจนการบังคับคดี
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงวิธีการหรือขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีความอาญาเพื่อให้ศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด กฎหมายนี้ได้กำหนดวิธีการยื่นฟ้องคดีต่อศาล การร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง อำนาจสั่งฟ้อง การประทับรับฟ้อง การพิจารณาพิพากษาคดี การชั่งน้ำหนักพยาน การพิพากษา ตลอดจนการบังคับคดี (ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน)
กฎหมายมหาชนกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าพนักงานของรัฐ กับเอกชน โดยฐานะของคู่กรณีฝ่ายปกครองอยู่เหนือกว่าประชาชน (เอกชน) สามารถยกตัวอย่างให้เห็นได้ดังนี้ ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าพนักงานของรัฐ กับเอกชน โดยฐานะของคู่กรณีฝ่ายปกครองอยู่เหนือกว่าประชาชน (เอกชน) สามารถยกตัวอย่างให้เห็นได้ดังนี้
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเหตุเพราะมาตรา ๖ แห่งรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับมิได้” กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อวางระเบียบในการปกครองประเทศ และกำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ รวมตลอดจนถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
กฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครอง (หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ) กับรัฐ และต่อประชาชน (เอกชน) เช่น กฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้างทางปกครอง (การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง เช่น กระทรวง ทบวง กรมการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด การบริหารราชการแผ่นดินส่วนท้องถิ่นเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล) การกระทำทางปกครอง ความรับผิดทางปกครอง การควบคุมฝ่ายปกครองโดยศาลปกครอง เป็นต้น
กฎหมายการคลังและการภาษีอากร
กฎหมายการคลังและภาษีอากรเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้ารัฐและหน่วยงานของรัฐ การจัดการทรัพย์สินที่เป็นเงินตราของรัฐ เช่น การเก็บรักษา การจัดทำบัญชี และการใช้จ่ายเงินของรัฐโดยงบประมาณแต่ละปี
กฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ซึ่งที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศมีที่มาด้วยกันอยู่หลายแหล่งได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ปฏิบัติสืบเนื่องมา สนธิสัญญา (Treaty) ความตกลงระหว่างประเทศ (Convention)
กฎหมายระหว่างประเทศสามารถแบ่งเป็นแผนกคดีต่าง ๆ ได้ ๓ แผนก
๑. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีข้อพิพาทเกี่ยวเนื่องกับต่างประเทศในเรื่องต่าง ๆ เช่น สัญชาติ การเปลี่ยนสัญชาติ การโอนสัญชาติ ทรัพย์สิน นิติกรรมสัญญา เป็นต้น
๒. กฎหมายระหว่างประเทศแผนคดีเมือง
หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น การกำหนดอาณาเขตของรัฐ หลักเกณฑ์ในการจัดทำสนธิสัญญาต่าง ๆ หรือ ภาวะสงคราม เป็นต้น
๓. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์รัฐในทางอาญา เช่นการกำหนดเขตอำนาจศาล การส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น
ศักดิ์ของกฏหมาย ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่ 1. รัฐธรรมนูญ 2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3. พระราชบัญญัติ 4. พระราชกำหนด 5. พระราชกฤษฎีกา 6. กฎกระทรวง 7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มาของกฏหมาย

1. กฏหมายลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติตามแบบพิธีและขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศให้ประชาชนทราบ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นต้น กฎหมายของไทยส่วนใหญ่ที่ศาลหรือผู้ใช้นำมาปรับแก่คดีคือ กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ
2. กฎหมายจารีตประเพณี คือ กฎหมายที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประชาชนได้ประพฤติตามแบบอย่างกันมาเป็นเวลาช้านานโดยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง และรัฐใช้ข้อปฏิบัติเหล่านี้เสมือนกฎหมายอย่างหนึ่ง โดยมีศาลยุติธรรมรับรองกฎหมายจารีตประเพณี
3. หลักกฎหมายทั่วไป คือ หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไป ของกฎหมายที่ยึดหลักความเป็นธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยศาลยุติธรรมเป็นผู้รับรองหลักกฎหมายว่ามีฐานะเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้ได้

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

งานธนบุรี

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี

การปกครองสมัยกรุงธนบุรียึดถือตามแบบอย่างอยุธยา สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือ

แบ่งส่วนราชการออกเป็น

1. การปกครองส่วนกลาง ประกอบด้วยอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง ได้แก่

- สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน และดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ

- สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร และดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้

การบริหารราชการแบ่งออกเป็น 4 กรม เรียกว่า จตุสดมภ์ ประกอบด้วย

- กรมเวียง (นครบาล) มีหน้าที่ปกครองท้องที่ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

- กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนัก และช่วยพระมหากษัตริย์พิจารณาคดีความของ

ราษฎร จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์

- กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน และเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจาก

ส่วย อากร และบังคับบัญชากรมท่า ซี่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ

- กรมนา (เกษตราธิการ) มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษี (หางข้าว)

2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น

2.1 หัวเมืองชั้นใน (เมืองจัตวา) ได้แก่เมืองที่อยู่ใกล้ราชธานี เป็นเมืองเล็กๆมีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็น

ผู้ปกครองเมือง แต่เรียกว่า จ่าเมือง เช่นเมืองพระประแดง เมืองนนทบุรี เมืองสามโคก

2.2 หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่เมืองซึ่งอยู่นอกราชธานีออกไป แบ่งตามขนาดและความสำคัญของเมือง

กำหนดฐานะเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา โดยรูปแบบการบริหารราชการเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ฐานะของ

เมืองอาจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

2.3 หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองซึ่งทางกรุงธนบุรีจะเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง ให้อิสระในการปกครอง แต่

ต้องปฏิบัติตามนโยบายของเมืองหลวง และต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง รวมทั้งเครื่องราชบรรณาการตามที

เมืองหลวงกำหนด เมืองประเทศราชสมัยกรุงธนบุรีได้แก่ เชียงใหม่ หลวงพระบาง เวียงจันทร์ จำปาศักดิ์

นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเขมร

เศรษฐกิจสมัยกรุงธนบุรี

การเสียกรุงครั้งที่ 2 ก่อให้เกิดความเสียหายย่อยยับแก่เศรษฐกิจไทย นอกเหนือจากชาวไทยต้อง

บาดเจ็บล้มตายในสงครามกับพม่าหลายหมื่นคนแล้ว ผู้รอดชีวิตจำนวนมากต้องอพยพหนีตายในสภาพอดอยาก

ยากแค้น บางส่วนอพยพหนีเข้าป่า บางส่วนซัดเซพเนจรหาที่พักพิงใหม่ เมื่ออดอยากหนักเข้าจึงใช้วิธีปล้นสะดม

ฆ่าฟันกันเพื่อความอยู่รอด บ้างก็ล้มตายเพราะขาดอาหาร หรือไม่ก็ตายเพราะโรคระบาด พลเมืองบางส่วน

ก็หนีไปพึ่งพระบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี

หลังจากที่พระเจ้าตากสินได้ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้วได้ดำเนินวิธีการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ

ดังนี้

1. ทรงสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากต่างชาติที่นำมาขาย แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับราษฎรเพื่อแก้

ปัญหาเฉพาะหน้า

2. ทรงเร่งรัดการทำนา เพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอ โดยการสนับสนุนให้ข้าราชการทำนาปรัง

3. ทรงส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ เพื่อนำรายได้มาใช้เกี่ยวกับการทำสงครามและบูรณปฏิสังขรณ์

วัดวาอาราม รายได้เกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ การเก็บภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ ภาษีขาเข้า - ภาษี

ขาออก

4. ทรงดำเนินนโยบายประหยัด โดยการใช้ของที่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ให้คุ้มค่ามากที่สุด

แม้ว่าพระเจ้าตากสินจะพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ แก้ไขปัญหาความอดอยากของ

ประชาชน แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จนัก เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้

1.มีสงครามตลอดรัชกาล ทำให้ราษฎรไม่มีเวลาทำมาหากิน

2.เกิดภัยธรรมชาติ เช่น พ.ศ.2311 – พ.ศ.2312 ฝนแล้งติดต่อกัน ทำนาไม่ได้ผล ที่พอทำได้บ้างก็ถูก

หนูกัดกินข้าวในนาและยุ้งฉาง รวมทั้งทรัพย์สินสิ่งของทั้งปวงเสียหาย จึงมีรับสั่งให้ราษฎรดักหนูนามาส่ง

กรมพระนครบาล ทำให้เหตุการณ์สงบลงไปได้

3.ผู้คนแยกย้ายกระจัดกระจายกัน ยังไม่มารวมกันเป็นปึกแผ่น

4.พ่อค้าชาติต่างๆยังไม่กล้ามาลงทุน เพราะสภาพการณ์บ้านเมืองไม่น่าวางใจนัก อีกประการหนึ่งเกรง

จะถูกยึดทรัพย์สินเป็นของหลวง การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ค่อยได้ผลนัก ทั้งนี้เพราะต้องทำควบคู่ไปกับการทำ

สงครามด้วย แม้กระนั้นพระเจ้าตากสินก็พยายามส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ โดยส่งเสริมการต่อเรือ

พาณิชย์ อันเป็นผลให้มีหนทางเก็บภาษีเข้าท้องพระคลัง เรือค้าขายจากเมืองจีนมาติดต่อบ่อยครั้ง ใน พ.ศ.2324

คณะทูตจากกรุงธนบุรีเดินทางไปเมืองกวางตุ้ง นำพระราชสาสน์ไปเจริญทางพระราชไมตรีและได้เจรจาเรื่อง

การค้าด้วย

การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านการศึกษาและศาสนาสมัยกรุงธนบุรี

การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีมีศูนย์กลางอยู่ที่วัดกับวัง โดยวัดจะเป็นสถานศึกษาสำหรับราษฎรทั่วไป ซึ่ง

ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กผู้ชายเพราะต้องไปศึกษาและพักอยู่กับพระที่วัด วิชาที่เรียนได้แก่ การอ่าน เขียนภาษาไทย

ภาษาบาลี - สันสกฤต และวิชาเลข ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนวังเป็นสถานศึกษาสำหรับบุตรของ

พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ วิชาที่เรียนส่วนใหญ่เน้นเรื่องการปกครอง วิชาการป้องกันตัว เพื่อ

เตรียมรับราชการต่อไปในอนาคต ส่วนวิชาชีพนั้นจะเป็นการศึกษากับพ่อแม่ คือ พ่อแม่ประกอบอาชีพอะไร ก็มัก

จะถ่ายทอดให้ลูกหลานทำต่อ เช่นวิชาแพทย์แผนโบราณ หรือวิชาช่างต่างๆ ส่วนเด็กผู้หญิงจะเรียนเพื่อเตรียมตัว

เป็นแม่บ้านแม่เรือนในอนาคต ดังนั้นการเรียนของเด็กผู้หญิงจะเรียนอยู่กับบ้าน มีแม่เป็นผู้สอน วิชาที่เรียน เช่น

การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การฝึกอบรมมารยาทของสตรี โดยพ่อแม่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ


การปรับปรุงฟื้นฟูประเทศด้านศาสนาสมัยกรุงธนบุรี

พระพุทธศาสนาตกต่ำมากในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อพระเจ้าตากสินขึ้นครองราชย์

พระองค์ทรงตั้งพระทัยจะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ พระราชภารกิจทางด้านศาสนา ได้แก่

1. นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ตามที่ต่างๆให้มาประชุมกันที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตาราม) แต่งตั้ง

เจ้าอาวาสวัดประดู่ขึ้นเป็นพระสังฆราช และตั้งพระราชาคณะให้ปกครองพระอารามต่างๆในเขตกรุงธนบุรี

2. ในคราวเสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช พระองค์เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระอาราม

วัดพระศรีมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช และให้เชิญพระไตรปิฎกขึ้นมายังกรุงธนบุรี เพื่อคัดลอกจารไว้ทุกหมวด

แล้วเชิญกลับไปนครศรีธรรมราชตามเดิม

3. เมื่อเสด็จหัวเมืองเหนือ พระเจ้าตากสินก็ทรงแต่งตั้งพระราชาคณะตามหัวเมืองต่างๆ และโปรดให้

รวบรวมพระไตรปิฎกทางหัวเมืองเหนือมาสอบชำระที่กรุงธนบุรี แล้วให้ส่งกลับไปใช้เป็นฉบับหลวง

4 .ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุ สามเณร ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทางศาสนาเป็นประจำ

5. ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง เช่น วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม)อันเป็นพระอารามหลวง และ

ประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์ นอกจากนี้เมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

เป็นแม่ทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ใน พ.ศ.2321 ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในกรุงธนบุรีด้วย

สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี

สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี มีลักษณะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา คือมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น

1. พระมหากษัตริย์ เป็นชนชั้นสูงสุดในสังคม

2. พระบรมวงศานุวงศ์

3. ขุนนางข้าราชการ

4. ไพร่ เป็นชนชั้นที่มีมากที่สุดในสังคม

5. ทาส เป็นชนชั้นต่ำสุดในสังคม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายเงินมาก

สังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างอันตราย

เพิ่งกอบกู้เอกราชคืนมาได้ ทั้งประสบความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ผู้คนหลบหนีเข้าป่าอย่างมากมาย ถูก

กวาดต้อนไปพม่าก็มีมาก นอกนั้นต่างก็พยายามเอาตัวรอดโดยการตั้งเป็นก๊ก เป็นเหล่า ครั้นกู้กรุงศรีอยุธยา

กลับคืนมาได้ก็ยังต้องระมัดระวังภัยจากพม่าที่จะมาโจมตีอีก การควบคุมกำลังคนจึงมีความสำคัญมาก เพราะถ้ามี

ผู้คนน้อย ก็จะทำให้พ่ายแพ้แก่ข้าศึกศัตรูได้ ผู้คนในกรุงธนบุรีถูกควบคุมโดยการสักเลก ผู้ที่ถูกสักเลกทั้งหลาย

เรียกกันว่าไพร่หลวง ซึ่งมีหน้าที่รับราชการปีละ 6 เดือน โดยมาทำราชการหนึ่งเดือน และหยุดพักผ่อนไปทำมา

หากินหนึ่งเดือนสลับกันไป ซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าเข้าเดือนออกเดือน มีไพร่หลวงอีกพวกหนึ่งเรียกว่าไพร่ส่วย คือ

เป็นไพร่ที่ส่งส่วยเป็นสิ่งของหรือเงินแทนการรับใช้แรงงานแก่ทางราชการ ส่วนไพร่สมเป็นไพร่ที่สังกัดมูลนาย

รับใช้แต่เจ้านายของตนเอง เพราะพวกนี้ถูกแยกเป็นอีกพวกหนึ่งเด็ดขาดไปเลย แต่บางครั้งไพร่สมก็ถูกแปลงมา

เป็นไพร่หลวงได้เหมือนกัน การสักเลกก็เพื่อเป็นการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็นไพร่หลวงเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยง

และหลบหนี

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยกรุงธนบุรีมีลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือการป้องกันประเทศจาก

การรุกรานของต่างชาติ และการขยายอำนาจไปยังอาณาจักรข้างเคียง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแก่บ้านเมือง

ประเทศที่มี ความสัมพันธ์กับไทยสมัยกรุงธนบุรี คือ พม่า ลาว เขมร และจีน

1. ความสัมพันธ์กับประเทศพม่า เป็นไปในลักษณะของความขัดแย้งตลอดรัชกาล เริ่มจากการรบ

ครั้งแรกที่ค่ายโพธิ์สามต้น ซึ่งไทยเป็นฝ่ายชนะ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกอบกู้เอกราชได้สำเร็จแล้วก็ตาม แต่

พม่าก็ยังไม่หยุดยั้งที่จะทำลายอาณาจักรไทยที่ตั้งขึ้นใหม่ ในสมัยกรุงธนบุรีมีการทำสงครามกับพม่า 10 ครั้ง

ผลัดกันแพ้ชนะ สงครามครั้งสำคัญที่สุด ได้แก่ ศึกอะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ.2318 ไม่มีฝ่ายใดชนะ

โดยเด็ดขาด

2. ความสัมพันธ์กับประเทศลาว ในสมัยกรุงธนบุรีมีการทำสงครามกับลาว2 ครั้ง คือศึกจำปาศักดิ์

ปี พ.ศ.2319 และศึกเวียงจันทร์ปี พ.ศ.2321 ผลของสงครามทั้ง 2 ครั้ง ไทยเป็นฝ่ายชนะ ได้ลาวเป็นประเทศราช

และในคราวศึกเวียงจันทร์ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแม่ทัพไทย ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

(พระแก้วมรกต) และพระบาง จากเวียงจันทร์มากรุงธนบุรีด้วย

3. ความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา เขมรเคยเป็นประเทศราชของไทยมาแต่สมัยอยุธยา หลังจาก

กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2310แล้วพระเจ้าตากสินกู้เอกราชได้สำเร็จ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์

เขมรไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายอ้างว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ใช่เชื้อพระวงศ์พระเจ้า

แผ่นดินกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และพระยาอนุชิต

ราชา (บุญมา) นำทัพไปตีเขมรใน พ.ศ.2312 แต่ไม่สำเร็จเพราะเขมรแกล้งปล่อยข่าวว่าสมเด็จพระเจ้า

ตากสินมหาราชเสด็จสวรรคต พระยาอภัยรณฤทธิ์และพระยาอนุชิตราชาจึงยกทัพกลับ ต่อมาปี พ.ศ.2314

โปรดให้พระยาจักรียกทัพไปตีเขมรอีก และได้เขมรกลับมาเป็นประเทศราชของไทย

4.ความสัมพันธ์กับประเทศจีน สมัยกรุงธนบุรีเป็นความพยายามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จะ

ให้จีนยอมรับฐานะของพระองค์ และเพื่อให้ไทยได้เปิดค้าขายกับจีน เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำให้ฐานะของ

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมั่นคงขึ้นด้วย

เหตุการณ์ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ในช่วงปลายรัชกาล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทรง

หมกมุ่นในการนั่งวิปัสนากรรมฐาน จนเข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบันแล้ว ทรงบังคับให้พระสงฆ์มากราบไหว้

พระองค์ หากไม่ปฏิบัติตามก็ทรงลงโทษอย่างหนัก สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว จนเกิดจราจลขึ้น พระยาสรรค์ก่อ

การกบฏตั้งตนเป็นใหญ่ บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชผนวช สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทราบข่าว

จึงยกทัพกลับจากการไปตีเขมร และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อ วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325

ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

งาน 1-3

การปกครองสมัยสุโขทัย การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย 3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น 1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง 2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้ 1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ 1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย 2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน 3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง 4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง 2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย สุโขทัย ตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจากนครธมหรือ พระนครหลวงราชธานีของอาณาจักรเขมรมากพอควรอำนาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มาถึงอาณาบริเวณนี้ จึงมีไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึงมีโอกาสที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนอกจากนั้น ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากำลังแผ่ขยายตัวและเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรด้วยการทำสงครามกับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสงครามยืดเยื้อการที่ต้องพะวงกับการทำสงคราม ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรเขมรในแง่ยุทธศาสตร์เพราะสามารถเข้าถึง กรุงยโสธรหรือนครธมเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดายทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ เมื่อไม่มีทางเลือกพระองค์ก็ต้องทรงสนับสนุนการก่อร่างสร้างเมืองของคนไทยกลุ่มนี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กำลังจะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเขมรในลักษณะของผู้ที่พึ่งพิง ดังจะเห็นได้จากการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีพระนามกมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์และพระราชธิดาชื่อพระนางสุขรเทวี แก่พ่อขุนผาเมืองนอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและการวางระบบชลประทานเพื่อนำน้ำมาใช้ในเมืองสุโขทัยแล้ว กล่าวได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงมีส่วนในการพระราชทานทรัพย์สิน สิ่งของและช่างฝีมือแก่ผู้นำของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัยบรรลุผลสำเร็จหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก การเมืองไม่มีเสถียรภาพมีความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้งการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรเขมร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็นอย่างดีจึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ในช่องว่างแห่งอำนาจนี้การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาศัยกำลังทางทหารและการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแลดินแดนที่ได้มา ทำให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการปกครองอย่างมากการที่อาณาจักรยังคงดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นำ ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมาไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์ อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยงๆและแตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้นถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชราที่ 1 (พ.ศ.-1890 - 1912) พระองค์ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกโดยใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้กลับเข้ามารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งแต่พระเจ้าลิไทก็ทรงประสบความสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้นในปี พ.ศ.1921 สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา อยู่ประมาณ10 ปีจึงสมารถกลับมาเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ.1931และได้เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาบาลและพระยารามพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่3จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในทำให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้อยุธยาได้แบ่งอาณาจักรของสุโขทัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญและอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่อีก ส่วนหนึ่งมีเมืองกำแพงแพชร เป็นเมืองศูนย์กลางสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ทรงสถาปนาให้พระราเมศวรพระราชโอรสซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่ายพระราชมารดาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา

วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบันวิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัยวันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่น

อาณาจักรรัตนโกสินทร์
จุดเริ่มต้นของรัตนโกสินทร์*กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๐๙ - กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๔๙* *สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์นักรบอีกพระองค์หนึ่งของชาติไทย ที่มีอัจฉริยะภาพทางการทหารอย่างหาผู้ใดเทียมมิได้ สิบห้าปีตลอดรัชกาลทรงตรากตรำทำศึกไม่เว้นแต่ละปี หัวเมืองใหญ่น้อยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ กองทหารม้าอันเกรียงไกรของพระองค์นั้น เป็นต้นแบบในการรุกรบยุคต่อมา เป็นตัวอย่างอันดีของทหารในยุคปัจจุบันคือ ทหารต้องรู้จักคิด รู้จักพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพด้วยตนเอง ต้องเอาบ้านเมืองเป็นหลักเป็นที่ตั้ง ต่อให้มียศเป็นพระยานาหมื่นหากไม่มีบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ยศศักดิ์นั้นไหนเลยจะมีค่า การศึกในหลายๆครั้งกับพม่านั้น พระองค์ก็อยู่ในสภาวะที่มิต่างอะไรจากสมเด็จพระนเรศวรฯ คือมีกำลังน้อยกว่าแทบจะทุกครั้ง แต่พระองค์ก็สามารถเอาชัยได้จากพระวิริยะอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถทางการทหาร ทรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ล้าหลัง ที่ศัตรูรู้ ที่ใครๆก็รู้ ทรงกล้าที่จะปฎิวัติความเชื่อใหม่ๆที่ทหารควรจะใช้เพื่อให้เหมาะกับสถานณการณ์ที่คับขัน การคุมพลยกแหกวงล้อมพม่าจากค่ายวัดพิชัยนั้น ถือได้ว่าเป็นทหารหนีทัพที่คิดกบฎเป็นทุรยศต่อแผ่นดิน แต่พระองค์ก็มิได้ลังเลที่จะทรงกระทำเพื่อบ้านเมืองในวันข้างหน้า หากพระองค์ไม่คิดเอาบ้านเมืองเป็นหลักชัยแล้ว ไหนเลยจะย้อนกลับมาเพื่อกู้กรุงในอีกแปดเดือนถัดมา ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ยศศักดิ์ต่างๆที่พระองค์มีในตำแหน่งพระยาวชิรปราการ ผู้รั้งเมืองกำแพงเพชรนั้น หาได้มีความสำคัญต่อพระองค์ไม่แม้แต่น้อย ทรงรู้ดีว่า เมื่อสิ้นชาติ ยศศักดิ์ใดๆก็ไม่มีความหมาย และในพระนครนั้นก็ไม่มีขุนทหารผู้ใหญ่คนใดที่จะมีน้ำใจและกล้าหาญที่พอจะรักษาชาติไว้ได้ พระองค์จึงกระทำการอันที่ยากที่ทหารคนใดผู้ใดจะกล้าทำ***ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกนั้น หัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของอยุธยานั้น ต่างมิได้ทำการช่วยอยุธยารบพม่าแต่อย่างใด ต่างคนต่างตั้งตัวเป็นอิสระ นิ่งเฉยดูดายต่อชะตากรรมของพระนคร มีเพียงชาวบ้านบางระจันเท่านั้น ที่ช่วยอยุธยาต่อสู้กับพม่าในเส้นทางเดินทัพของเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าทัพที่สอง ทัพที่หนึ่งของพม่านั้นมีมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ทำหน้าทียกไปล้อมอยุธยาทางทิศใต้ของพระนคร ตลอดหัวเมืองรายทางของทั้งสองทัพของพม่านั้น ต่างอ่อนน้อมต่อพม่าไม่ทำการต่อสู้ ขณะนั้นกษัตริย์พม่าคือ พระเจ้ามังระ ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ เห็นอยุธยาอ่อนแอและมั่งคั่งยิ่งนัก จึงคิดจะปราบอยุธยาเพื่อให้อาณาจักรอื่นกลัวเกรงในอำนาจ จึงให้สองแม่ทัพยกพลไปตีอยุธยา เหตุที่พระเจ้ามังระทรงไม่คุมทัพมาเองเพราะรู้ดีว่าอยุธยาอ่อนแอและแตกแยก ทรงรู้ได้จากข่าวสารของไส้ศึกที่ส่งเข้าไปบ่อนทำลายและแทรกซึมในทุกวงการทุกชนชั้นของอยุธยา จึงให้เพียงแม่ทัพผู้ใหญ่ทั้งสองยกไปเองเท่านั้น ดูเอาเถิดเหตุการณ์เหมือนกรุงเทพ พ.ศ.๒๕๔๙มั้ย*****พระเจ้าตากสินฯทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่เริ่มทุกอย่างจากศูนย์ จากที่มีทหารเพียงแค่ห้าร้อยคน ทรงกระทำการจากเล็กๆเรื่อยไปจนถึงการใหญ่ซึ่งนั่นคือการ สถาปนากรุงธนบุรี ราชธานีใหม่ที่มีกองทัพกว่าสองแสนคน ไว้เป็นที่สร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับคนไทย การเมืองการปกครองในกรุงธนบุรีในยุคเริ่มแรกนั้นร่มเย็นเป็นสุข เพราะกรุงธนบุรีมักจะเป็นฝ่ายรุกในเรื่องของการทหาร ไพร่ฟ้าประชาชนในเมืองจะปลอดภัยจากข้าศึก เพราะกองทัพของพระเจ้าตากสินฯจะยกพลไปรบในดินแดนข้าศึกเป็นส่วนใหญ่ พระเจ้าตากสินฯทรงมีนโยบายทางการทหารเป็นแนวเชิงรุก อาณาจักรใกล้เคียงต่างยอมอยู่ใต้เศวตฉัตร เพราะกรุงธนบุรีมีกองทัพที่เข้มแข็งและยุทธวิธีในการรบก็ไม่เหมือนใครเป็นแบบใหม่ที่ไม่อาจมีใครแก้ทางศึกได้ พระราชอาณาจักรจึงกว้างขวางยิ่งกว่าในสมัยราชธานีเดิม แม้แต่กษัตริย์มังระของพม่าก็ยังครั่นคร้ามในพระบรมเดชานุภาพ ถึงกับย้ายที่ตั้งมั่นจากเมืองตองอูสลับกลับเมืองแปร เมื่อใดที่ได้ข่าวกองทัพกรุงธนบุรียกมาใกล้ ก็จะย้ายไปอยู่เมืองแปร ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปอีกในดินแดนพม่า หากเหตุการณ์ปกติก็จะประทับอยู่ที่เมืองตองอู เพราะกษัตริย์มังระของพม่าพระองค์นี้ เป็นเชื้อสายราชวงศ์ตองอู จาการที่พระเจ้ามังระของพม่านั้นเป็นนักการทหารที่มีฝีมือองค์หนึ่งของพม่ามาก่อนนั้น พระองค์ทรงรู้ดีถึงแสนยานุภาพในทางการทหารของกรุงธนบุรีว่ากองทัพพม่าของพระองค์นั้นไม่สามารถรับมือได้เพราะกองทัพพม่าใช้ช้างเป็นหลัก การวางกำลังตามแบบเบญจเสนา5ทัพของพระนเรศวรนั้นยิ่งทวีประสิทธิภาพมากเป็นทวีคูณเมื่อพระเจ้าตากสินฯทรงใช้กองทัพทหารม้าเป็นหลัก สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และกองทหารปืนนกสับ การเคลื่อนกำลังพล การบำรุงรี้พลการใช้กองหนุนและหน่วยรบพิเศษบนหลังม้า เหล่านี้ล้วนแต่เป็นศาสตร์ทางทหารแบบใหม่ที่พระเจ้าตากสินฯทรงต่อยอดความรู้มาจากตำราพิชัยสงครามเบญจเสนาห้าทัพของพระนเรศวรฯทั้งสิ้น แม้แต่เวียดนาม อาณาจักรที่อยู่ห่างไกลกรุงธนบุรียิ่งนัก พระองค์ก็เสด็จยกทัพบกทัพเรือไปตีมาแล้ว แคว้นมลายู ปัตตานี ลานช้าง ลานนา เชียงตุง เชียงรุ้ง กองทัพกรุงธนบุรียาตราไปตีไปยึดมาแล้วทั้งสิ้น นี่คือตัวอย่างของอาณาจักรที่มีกองทัพเข้มแข็งเกรียงไกร ยาตราทัพไปทิศใดไพรีก็พินาศ*******กรุงธนบุรีและพระเจ้าตากสินฯ เริ่มมีปัญหาในทางการปกครองจากการที่รับเอาขุนนางเก่าของอยุธยามารับราชการ ขุนนางพวกนี้รังเกียจพระองค์เรื่องสายเลือดและเชื้อชาติอยู่แล้วในใจ นานวันไปขุนนางพวกนี้มาเติบใหญ่ในทุกวงราชการ ทั้งทหารและพลเรือน เมื่อเริ่มมีอำนาจก็เข้าอีหรอบเดิมเหมือนเมื่อครั้งอยู่กรุงเก่า เริ่มแบ่งพรรคแย่งพวก เริ่มตั้งข้อเปิดประเด็นเรื่องคนจีนและขุนนางที่มีเชื้อสายจีน ทั้งๆที่คนเชื้อสายจีนอย่างพระองค์นี่แหล่ะที่ปลดแอกพม่าให้คนไทย ระบบศักดินาเก่าแบบอยุธยาเริ่มกลับมามีบทบาทแทนพ่อปกครองลูกแบบสุโขทัยที่พระเจ้าตากสินฯทรงนำมาใช้ ไม่นานความแตกแยกทางความคิดเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น และเริ่มลามเข้าสู่ในกองทัพ ทหารเชื้อสายจีนในกองทัพเริ่มไม่พอใจ ขุนนางทหารเริ่มแตกแยกกันเอง เริ่มหาผู้นำที่มีบารมีและยกให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม ลางร้ายเริ่มปรากฎ กองทัพกรุงธนบุรีปราชัยเป็นครั้งแรกที่เมืองเขมร เพราะทหารแต่ละทัพระแวงกันเอง ไม่เร่งเดินทัพเพื่อสมทบทัพหลวงที่พระเจ้าตากสินฯทรงให้พระราชโอรสเป็นจอมทัพ ทัพต่างๆไม่บรรจบกันตามพิชัยสงครามดังที่เคยปฎิบัติ สุดท้ายเกิดกบฎที่เมืองหลวง นำโดยพระยาสรรค์ ขุนนางอยุธยาเก่าเชื้อสายไทยแท้ๆที่พระเจ้าตากสินทรงนำมาชุบเลี้ยง จนเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องยกทัพกลับจากเขมรมาปราบปราม และปราบดาภิเศกเป็นปฐมราชวงศ์จักรี หมดสิ้นยุคกรุงธนบุรี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา****BangkokBangkokกรุงเทพมหานคร เดิมเรียกกันว่า "เมืองบางกอก" ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ แทนกรุงธนบุรี โดยสืบทอดศิลปวัฒนธรรมจากกรุงศรีอยุธยา ทรงทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก หรือตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 และพระราชทานนามพระนครนี้ว่า "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์" ซึ่งมีความหมายว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้"ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น "จังหวัดพระนคร"ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรีเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่ากรุงเทพฯการปกครอง กรุงเทพมหานครมีลักษณะเป็นเขตการปกครองพิเศษ (หนึ่งในสองเขต อีกแห่งคือ พัทยา) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง และมีการแต่งตั้งปลัดกรุงเทพมหานครร่วมบริหารงาน การดำเนินงานมีสภากรุงเทพมหานครพระมหากษัตริย์ไทยประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนาถ ฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระปรมพงษเชษฐ์มเหศวรสุนทร ฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสษฐ์มหาเจษฎาบดินทร์ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ ฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก ฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ฯ พระอัฐมรามาธิบดินทร์รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ


ประวัติกรุงศีรอยุธยา
อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย(อังกฤษ: Kingdom of Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด
ที่ตั้งและอาณาเขต

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ (ปัจจุบันคือจังหวัดแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือจังหวัดนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
ทิศตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ
ประวัติศาสตร์
ชุมชนก่อนรัฐ
ความเชื่อเรื่องก่อนกำเนิดรัฐสุโขทัย แต่เดิมมีความเชื่อว่ากลุ่มคนจำนวนมากอพยพหนีการรุกรานจากจีนผ่านมาทางเชียง แสน เชียงราย ลุ่มแม่น้ำปิง และตั้งเมืองที่ลุ่มแม่น้ำยมตอนล่าง คติดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมประวัติศาสตร์ชาตินิยม และสร้างภาพของสุโขทัยออกมาในฐานะราชธานีอันยิ่งใหญ่ที่มีเขตแดนจากพงสาลีจรดปลายแหลมมลายู มีแสนยานุภาพเกรียงไกรด้วยกองทัพปลดแอกจากมหาอำนาจขอม มีรูปแบบการปกครองแบบครอบครัวเชิงอุปถัมภ์ที่เรียกกันว่าพ่อปกครองลูก อีกทั้งมีเศรษฐกิจที่รุดหน้ากว่าชาติตะวันตกในรูปแบบการค้าเสรี มีการใช้ภาษาเชิงอารยะคือมีอักษรใช้เป็นของชาติตนเอง แต่ในเวลาต่อมาแนวคิดนนี้เริ่มมีข้อบกพร่อง อีกทั้งเริ่มมีหลักฐานอื่นขึ้นมาขัดแย้งเรื่อยๆ นอกจากนี้แนวความคิดนี้ยังก่อให้เกิดปัญหามโนคติตามมา
ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่า ในบริเวณสุโขทัยน่าจะมีชุมชนอยู่ก่อนแล้ว ทั้งจากกลุ่มชนที่สูงพวกลัวะ หรือกลุ่มพื้นราบจากอารยธรรมทวารวดี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ที่บ้านวังหาด อำเภอบ้านด่านลานหอย โดยเฉพาะแร่เหล็ก ซึ่งก่อให้เกิดการตั้งฐิ่นฐานเพื่อทำอุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก และการผลิตเครื่องมือเหล็กต่างๆในราวยุคเหล็กตอนปลายต่อเนื่องสมัยทวารวดี โดยพบหลักฐานเป็นโลหะห้อยคอรูปหน้าลิง นอกจากนี้ยังพบร่องรอยชุมชนริมแม่น้ำลำพัน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงวังตะคร้อ ซึ่งมีการพบหลักฐานจำพวกลูกปัด และบริเวณนี้ก็เป็นที่ตั้งของถ้ำเจ้าราม หรือถ้ำพระราม ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถูกเอ่ยถึงในศิลาจารึกหลักที่ 1 แต่ชุมชนเหล่านี้ ก็มิได้ขยายตัวเป็นเมืองใหญ่จวบจนกระทั่งสมัยอาณาจักรเท่านั้น
สุโขทัย เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญจุดหนึ่งที่ผู้คนจากทั่วสารทิศมาพบปะกันจริงๆ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่าในตอนต้นของประวัติศาสตร์ มีการปรากฏตัวของ มะกะโท ซึ่งเป็นพ่อค้า และยังมีการเข้าตีเมืองตาก โดยขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในช่วงเวลาหนึ่งของสุโขทัย ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่า สุโขทัยเป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช 1700 ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย แต่กระนั้นก็ไม่ใช่เหตุสงครามอย่างที่เข้าใจกัน เพราะขอมสบาดโขลญลำพงครองสุโขทัยเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถชี้ชัดระยะเวลาที่แท้จริงได้ก็ตาม กับเขต สันนิษฐานว่าเป็นผู้ตรวจราชการจากลวรัฐ
สถาปนาอาณาจักร
เมื่อต่อมาเกิดความขัดแย้งบางประการ ทั้งอาจจะเกิดจากขอมสบาดโขลญลำพงโดยตรงหรือไม่ก็ตาม แต่น่าจะกระทบกระเทือนต่อ ราชวงศ์นำถุม (ผาเมือง) และราชวงศ์พระร่วง จึงส่งผลให้พ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมือง ต้องร่วมมือกันชิงเอาสุโขทัยคืนจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 1781 จากนั้น พ่อขุนผาเมืองก็กลับยกเอาเมืองสุโขทัย พระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ ให้กับพ่อขุนบางกลางหาว และหายไปจากประวัติศาสตร์จากนั้นเป็นต้นมา ซึ่งมีการสันนิษฐานไปต่างๆนานา ทั้งการไปครองเมืองที่ใหญ่กว่า หรือกลับไปครองเมืองราดตามเดิมอย่างสงบ
แม้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ปกครองสุโขทัยแล้ว กิจการเมืองก็ยังไม่สงบเรียบร้อยดังปรากฏว่ามี ขุนสามชนเจ้า เมืองฉอด ยกทัพเข้ามาตีเมืองตาก และท้ายที่สุดเกิดยุทธหัตถี ระหว่างขุนสามชน กับ รามราช พระโอรสองค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผลคือพระโอรสองค์เล็กได้รับชัยชนะ และได้รับการเฉลิมพระนามว่ารามคำแหง หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต พ่อขุนบานเมือง พระโอรสองค์โต และ พ่อขุนรามคำแหง พระโอรสองค์เล็ก ก็ได้ปกครองสุโขทัยต่อตามลำดับ โดยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงได้ประกอบพระกรณียกิจไว้มากมาย ทั้งการขยายดินแดน ซึ่งเดิมเชื่อว่าทรงได้พื้นที่จากพงสาลี จรดแหลมมลายู แต่ปัจจุบันหลักฐานหลายชิ้นระบุอาณาเขตไว้ใต้สุดเพียงเมืองพระบาง นอกจากนี้ด้านศาสนายังมีการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์อีกด้วย
การแทรกแซงจากอยุธยา
หลังจากพ่อขุนรามคำแหงสวรรคตแล้ว เมืองต่างๆเริ่มแข็งเมือง ส่งผลให้ในรัชกาลพญาเลอไท และรัชกาลพญาไสลือไท ต้องส่งกองทัพไปปราบหลายครั้งแต่มักไม่เป็นผลสำเร็จ และการปรากฏตัวขึ้นของอาณาจักรอยุธยาทางตอนใต้ซึ่งกระทบกระเทือนเสถียรภาพ ของสุโขทัยจนในท้ายที่สุดก็ถูกแทรกแทรงจากอยุธยา จนมีฐานะเป็นหัวเมืองของอยุธยาไปในที่สุด โดยมี พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครองสุโขทัยในฐานะรัฐอิสระพระองค์สุดท้าย โดยขณะนั้น ด้วยการแทรกแซงของอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
เมืองสรวงสองแคว (พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง
เมืองสุโขทัย เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครอง
เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครอง
เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครอง
หลังสิ้นรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมบาล) พระยายุทธิษฐิระซึ่ง เดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านพิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้น พระยายุทธิษฐิระ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระยาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนา จากพระยา เป็น พระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช
หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคู ประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้
ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด
การสิ้นสุดของรัฐ
พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (ตาก สุโขทัยศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิชัย ชัยบุรี ศรีเทพ) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ
ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด
ความเจริญรุ่งเรือง
ด้านเศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ค้าถ้วยชามสังคโลก" และ "...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน
ด้านสังคม ความเชื่อ และศาสนา
การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสรเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้า และปกครองผู้ใต้ปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า "…ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…"
ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 ว่า "…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎิวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดพงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…"
ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ในวันพระ จะมีภิกษุเทศนาสั่งสอน ณ ลานธรรมในสวนตาล โดยใช้พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ เป็นอาสนะสงฆ์ ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีล โอยทานกันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น
ด้านการปกครอง
แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
1.แบบพ่อปกครองลูก ( ปิตุลาธิปไตย )
สุโขทัยมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือ พ่อขุน ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงโปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแทนมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วย พระองค์เอง การปกครองแบบพ่อปกครองลูก(ปิตุลาธิปไตย)ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น
2.แบบธรรมราชา
การปกครองแบบธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ปฏิบัติธรรมหรือ กษัตริย์ผู้มีธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรง เกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่าง เดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระ มหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบธรรมราชา ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ - ๔
ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้
ในแนวราบ
จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับ ประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้
ในแนวดิ่ง
ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ
พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก "ลูกเจ้า"
ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)
ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)
ความสัมพันธ์กับต่างชาติ
จักรวรรดิมองโกล
กองทัพจักรวรรดิมองโกลแผ่ แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุดเป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) ซึ่งเป็นอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
หลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกลได้สรุปไว้ว่า กุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปราม แคว้นต่างๆ ทางใต้ มีสุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่นๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฏว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดน ต่างๆ อ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ปรากฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่างๆ กว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. 1822 - 1825)
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 12 เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนังเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้ อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อ
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 17 กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1835 (ค.ศ. 1292) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยัง นครหลวงข่านมาลิก (ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้พ่อขุนราม คำแหงเสร็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของ อาณาจักรต่างๆ ไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 18 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน
อาณาจักรล้านนา
ในปี พ.ศ. 1839 พญามังราย (พ.ศ. 1804 - 1854) ได้มีคำสั่งให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า นภบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ (เชียงใหม่) เพื่อที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรล้านนา ครั้งนั้นพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและ พญางำเมือง ได้เสด็จมาช่วยด้วย
อาณาจักรอยุธยา
หลังจากมีการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา แรกนั้นสุโขทัยและอยุธยาไม่ได้เป็นไมตรีต่อกัน แต่ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมกว่า ทำให้อยุธยาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับปัญหาการเมืองภายในของสุโขทัยมิได้เป็นไปโดยสงบ มีการแย่งชิงราชสมบัติกันระหว่าง พระยาบาลเมือง พระยาราม ยังผลให้อยุธยาสบโอกาสเข้าแทรกแซงกิจการภายใน ในรัชกาลนี้มีการรับไมตรีจากอยุธยาโดยการสมรสระหว่างราชวงศ์พระร่วง กับราชวงศ์สุพรรณภูมิ โดยมีพระราเมศวร ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นราชบุตรจากสองราชวงศ์
ลังกา
สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับลังกาทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ โดยรับมาจากนครศรีธรรมราชอีกที นอกจากนี้ สุโขทัยก็ยังมีความสัมพันธ์กับลังกาโดยตรง ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) ได้มีพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงได้เดินทางไปศึกษาพระ ไตรปิฎกที่ลังกาอีกด้วย
หัวเมืองมอญ
สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับจีนในลักษณะการค้าในระบบบรรณาการ คือ สุโขทัยจะต้องส่งทูตพร้อมเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน เพื่อแสดงความอ่อนน้อมต่อจีน และเมื่อเดินทางกลับ จีนก็ได้จัดมอบสิ่งของให้คณะทูตนำกลับมายังสุโขทัยด้วย และทำให้ได้รับวีธีการทำเครื่องปั้นดินเผาจากช่างจีนด้วย
เขียนโดย จุ๊ปปี๊ ที่ 6:06 0 ความคิดเห็น
การปกครองสมัยสุโขทัย

การปกครองสมัยสุโขทัยการเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นอขงการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย 3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น 1. เมืองหลวง หรือราชธานี เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระราชวังและวัดจำนวนมาก ตั่งอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา วัฒนธรรม ศิลปะและขนบประเพณี พระมหากษัตริย์ทางเป็นผู้ปกครองเอง 2. เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่าน ตั้งอยู่รอบราชธานีห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้าประมาณ 2 วัน ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสองแคว เมืองสระหลวง เมืองชากังราว เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้ 1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ 1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย 2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน 3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง 4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง 2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพือ่ให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย สุโขทัย ตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจากนครธมหรือ พระนครหลวงราชธานีของอาณาจักรเขมรมากพอควรอำนาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มาถึงอาณาบริเวณนี้ จึงมีไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึงมีโอกาสที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนอกจากนั้น ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากำลังแผ่ขยายตัวและเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรด้วยการทำสงครามกับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสงครามยืดเยื้อการที่ต้องพะวงกับการทำสงคราม ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรเขมรในแง่ยุทธศาสตร์เพราะสามารถเข้าถึง กรุงยโสธรหรือนครธมเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดายทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ เมื่อไม่มีทางเลือกพระองค์ก็ต้องทรงสนับสนุนการก่อร่างสร้างเมืองของคนไทยกลุ่มนี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กำลังจะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเขมรในลักษณะของผู้ที่พึ่งพิง ดังจะเห็นได้จากการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีพระนามกมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์และพระราชธิดาชื่อพระนางสุขรเทวี แก่พ่อขุนผาเมืองนอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและการวางระบบชลประทานเพื่อนำน้ำมาใช้ในเมืองสุโขทัยแล้ว กล่าวได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงมีส่วนในการพระราชทานทรัพย์สิน สิ่งของและช่างฝีมือแก่ผู้นำของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัยบรรลุผลสำเร็จหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก การเมืองไม่มีเสถียรภาพมีความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้งการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรเขมร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็นอย่างดีจึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ในช่องว่างแห่งอำนาจนี้การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาศัยกำลังทางทหารและการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแลดินแดนที่ได้มา ทำให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการปกครองอย่างมากการที่อาณาจักรยังคงดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นำ ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมาไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์ อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยงๆและแตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้นถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชราที่ 1 (พ.ศ.-1890 - 1912) พระองค์ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกโดยใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้กลับเข้ามารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งแต่พระเจ้าลิไทก็ทรงประสบความสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้นในปี พ.ศ.1921 สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา อยู่ประมาณ10 ปีจึงสมารถกลับมาเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ.1931และได้เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาบาลและพระยารามพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่3จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในทำให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้อยุธยาได้แบ่งอาณาจักรของสุโขทัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญและอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่อีก ส่วนหนึ่งมีเมืองกำแพงแพชร เป็นเมืองศูนย์กลางสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ทรงสถาปนาให้พระราเมศวรพระราชโอรสซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่ายพระราชมารดาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา

งานที่7-12

งานชิ้นที่ 7-12
วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
การเตรียมการเปลี่ยนแปลง
คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่า จะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพ
ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม
ประชาชนหลั่งไหลเข้ามาดูเหตุการณ์ ณ ลานพระราชวังดุสิต
หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ
หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น.
หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น.
หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที
หน่วยที่ 4 เป็นฝ่ายที่เรียกกันว่า "มันสมอง" มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว
แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน
การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สังคม
ทางประวัติศาสตร์สังคม หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่าอาจกล่าวได้ว่า "กบฏ ร.ศ. 130" เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษมนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130"
สังคมไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ครองราชย์นั้น สังคมไทยได้ก้าวสู่ความเป็นอารยะตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจริญที่ปรากฏอยู่ในรูปของวัตถุไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง รถไฟ ไฟฟ้า ประปา เขื่อนชลประทาน โรงพยาบาล ระบบการสื่อสารคมนาคม ที่ทำการรัฐบาล ห้างร้าน และตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนเครื่องใช้อันทันสมัย อันมีเจ้านายและชนชั้นสูงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนชาวบ้านสามัญชนเป็นผู้ตาม
นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในขนบธรรมเนียมบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองระบบใหม่ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลต้องติดต่อกับชาติอื่น ๆ ทั่วโลก จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้เป็นสากลและสอดคล้องกับความเป็นไปของโลก แต่ให้คงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้ที่เด่นชัดในสมัยนั้นก็คือเรื่องการแต่งกายในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ( พ.ศ. 2481-2487 ) ได้มีบัญญัติเรียกว่า “ รัฐนิยม “ ซึ่งเป็นการปลุกระดมอย่างรุนแรง ซึ่งแสดงนโยบายของประเทศว่าต้องการให้ประชาชนคนไทยรักหวงแหนและภูมิใจในความเป็นไทย เช่น ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามที่กำหนด ห้ามสวมกางเกงแพร ให้ทักทายกันด้วยคำว่า “ สวัสดี “ ห้ามกินหมาก ให้สวมหมวกทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ใช้คำขวัญปลุกใจทุกเช้าก่อนเรียน การยกเลิกบรรดาศักดิ์โดยให้ใช้เพียงชื่อ สกุล เหมือนคนทั่วไป การเคารพธงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงมหรสพ ฯลฯ
สภาพสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ คือ
· ประชาชนขึ้นมาเป็นเจ้าของประเทศและมีบทบาทในการปกครองประเทศด้วยกระบวนการกฎหมายรัฐธรรมนูญ
· ชนชั้นกลาง พวกพ่อค้า ปัญญาชน ขึ้นมามีบทบาทในสังคมแต่ผู้กุมอำนาจยังคงได้แก่ทหารและข้าราชการ
· นายทุนเติบโตจากการค้าและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีอิทธิพลและบทบาทจนได้เปรียบในสังคม
· เกิดช่องว่างในสังคมทำให้ชาวไร่ ชาวนา และกรรมกรมีฐานะและชีวิตอยู่กับความยากจนและถูกเอารัดเอาเปรียบจากสังคม


ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2534) ประวัติการกบฏ ปฏิวัติ และหารรัฐประหาร" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเอง ในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478 ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481 ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491 จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง รัฐประหาร 6 เมษายน 2491 คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491 พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492 นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494 นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497 นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี รัฐประหาร 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516 การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520 พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว กบฎ 26 มีนาคม 2520 พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520 กบฎ 1 เมษายน 2524 พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้ การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528 พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี


รัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

รายนามประธานรัฐสภาไทย
ลำดับ
คนที่
สมัยที่
รายนาม
ตำแหน่ง
ระยะเวลา
รูป
1
1
(1)
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี(สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
28 มิ.ย. 2475 - 1 ก.ย. 2475

2
2

เจ้าพระยาพิชัยญาติ(ดั่น บุนนาค)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
2 ก.ย. 2475 - 10 ธ.ค. 2476

3

(2)
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
15 ธ.ค. 2475 - 26 ก.พ. 2476

4
3
(1)
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี(กระแส ประวาหะนาวิน)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
26 ก.พ. 2476 - 22 ก.ย. 2477

5
4

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ(จิตร ณ สงขลา)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
22 ก.ย. 2477 - 31 ก.ค. 2479

6
5
(1)
พระยามานวราชเสวี(ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
3 ส.ค.2479 - 10 ธ.ค.2480

7

(2)
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
6 ก.ค.2486 - 24 มิ.ย.2487

8

(2)
พระยามานวราชเสวี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
2 ก.ค.2487 - 24 มิ.ย.2488

9
6

พันตรี วิลาศ โอสถานนท์
ประธานพฤฒสภา
4 มิ.ย.2489 - 24 ส.ค.2489

10

(3)
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี
ประธานพฤฒสภา
31 ส.ค.2489 - 8 พ.ย.2490

11

(4)
พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี
ประธานวุฒิสภา
26 พ.ย.2490 - 29 พ.ย.2494

12
7

พลเอก พระประจนปัจจนึก(พุก มหาดิลก)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
1 ธ.ค.2494 - 20 ต.ค.2501

13
8
(1)
พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร(สุทธิ สุขะวาที)
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
20 ก.ย.2500 - 14 ธ.ค.2500

14

(2)
พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
6 ก.พ.2502 - 17 เม.ย.2511

15
9

นายทวี บุณยเกตุ
ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
8 พ.ค.2511 - 20 มิ.ย.2511

16
10

พันเอก นายวรการบัญชา(บุญเกิด สุตันตานนท์)
ประธานวุฒิสภา
22 ก.ค.2511 - 17 พ.ย.2514

17
11

พลตรี ศิริ สิริโยธิน
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
18 ธ.ค.2515 - 11 ธ.ค.2516

18
12

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
29 ธ.ค.2516 - 7 ต.ค.2517

19
13

นายประภาศน์ อวยชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
17 ต.ค.2517 - 25 ม.ค.2518

20
14

นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
7 ก.พ.2518 - 12 ม.ค.2519

21
15
(1)
นายอุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
19 เม.ย.2519 - 6 ต.ค.2519

22
16

พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ
ประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
22 ต.ค.2519 - 20 พ.ย.2519

23
17
(1)
พลอากาศเอก หะริน หงสกุล
ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
28 พ.ย.2519 - 20 ต.ค.2520

24

(2)
พลอากาศเอก หะริน หงสกุล
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
25 พ.ย.2520 - 22 เม.ย.2522

25

(3)
พลอากาศเอก หะริน หงสกุล
ประธานวุฒิสภา
9 พ.ค.2522 - 19 มี.ค.2526

26
18

นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ
ประธานวุฒิสภา
26 เม.ย.2526 - 19 มี.ค.2527

27
19
(1)
นายอุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานวุฒิสภา
30 เม.ย.2527 - 21 เม.ย.2532

28
20

ร้อยตำรวจตรี วรรณ ชันซื่อ
ประธานวุฒิสภา
4 พ.ค.2532 - 23 ก.พ.2534

29

(2)
นายอุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2 เม.ย.2534 - 21 มี.ค.2535

30

(3)
นายอุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานวุฒิสภา
3 เม.ย.2535 - 26 พ.ค.2535

31
21
(1)
นายมีชัย ฤชุพันธุ์
ประธานวุฒิสภา
28 มิ.ย.2535 - 29 มิ.ย.2535

32
22

นายมารุต บุนนาค
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
22 ก.ย.2535 - 19 พ.ค.2538

33
23

นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
11 ก.ค.2538 - 27 ก.ย.2539

34
24

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
24 พ.ย.2539 - 27 มิ.ย.2543

35
25

นายพิชัย รัตตกุล
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
30 มิ.ย.2543 - 9 พ.ย.2543

36

(2)
นายอุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
6 ก.พ.2544 - 5 ม.ค.2548

37
26

นายโภคิน พลกุล
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ม.ค.2548 - 24 ก.พ.2549

38

(2)
นายมีชัย ฤชุพันธุ์
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
11 ตุลาคม 2549 - 19 มี.ค.2551

39
27

นายยงยุทธ ติยะไพรัช
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
23 ม.ค.2551 - 30 เม.ย. 51[1]

40


นายประสพสุข บุญเดช
ประธานวุฒิสภารักษาการแทน ในฐานะรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง
19 มี.ค.2551 - 15 พ.ค.2551

41
28

นายชัย ชิดชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร
15 พ.ค.2551 - ปัจจุบัน




รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ 1 (ครม. อภิสิทธิ์ 1) [1]
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย
ตำแหน่ง
ลำดับ
รายนาม
เริ่มวาระ
สิ้นสุดวาระ
หมายเหตุ
พรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี



*
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
17 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ประชาธิปัตย์
รองนายกรัฐมนตรี



1
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ประชาธิปัตย์



2(1)
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
11 มกราคม พ.ศ. 2553
ลาออก
ประชาธิปัตย์



2(2)
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
15 มกราคม พ.ศ. 2553


ประชาธิปัตย์



3
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ชาติไทยพัฒนา
สำนักนายกรัฐมนตรี



4
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ประชาธิปัตย์



5(1)
นายวีระชัย วีระเมธีกุล
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ไปดำรงตำแหน่ง รมว.วิทยาศาสตร์ฯ
-



5(2)
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ประชาธิปัตย์
กระทรวงกลาโหม



6
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


-
กระทรวงการคลัง



7
นายกรณ์ จาติกวณิช
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ประชาธิปัตย์



8
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


รวมใจไทยชาติพัฒนา



9(1)
นายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจากตำแหน่ง
เพื่อแผ่นดิน



9(2)
นายมั่น พัธโนทัย
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553


มาตุภูมิ
กระทรวงการต่างประเทศ



10
นายกษิต ภิรมย์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ประชาธิปัตย์
กระทรวงการท่องเที่ยวฯ



11
นายชุมพล ศิลปอาชา
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ชาติไทยพัฒนา
กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ



12 (1)
นายวิฑูรย์ นามบุตร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ลาออก
ประชาธิปัตย์



12 (2)
นายอิสสระ สมชัย
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


ประชาธิปัตย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์



13
นายธีระ วงศ์สมุทร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ชาติไทยพัฒนา



14 (1)
นายชาติชาย พุคยาภรณ์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ลาออก
ภูมิใจไทย



14 (2)
นายศุภชัย โพธิ์สุ
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


ภูมิใจไทย
กระทรวงคมนาคม



15
นายโสภณ ซารัมย์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ภูมิใจไทย



16(1)
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
14 มกราคม พ.ศ. 2553
ลาออก
ภูมิใจไทย



16(2)
นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร
15 มกราคม พ.ศ. 2553


ภูมิใจไทย



17
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ชาติไทยพัฒนา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ



18
นายสุวิทย์ คุณกิตติ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


กิจสังคม
กระทรวงไอซีที



19(1)
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจาตำแหน่ง
เพื่อแผ่นดิน



19(2)
นายจุติ ไกรฤกษ์
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ประชาธิปัตย์
กระทรวงพลังงาน



20
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


รวมใจไทยชาติพัฒนา
กระทรวงพาณิชย์



21
นางพรทิวา นาคาศัย
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ภูมิใจไทย



22
นายอลงกรณ์ พลบุตร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ประชาธิปัตย์
กระทรวงมหาดไทย



23
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ภูมิใจไทย



24
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ภูมิใจไทย



25
นายถาวร เสนเนียม
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ประชาธิปัตย์
กระทรวงยุติธรรม



26
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


ประชาธิปัตย์
กระทรวงแรงงาน



27(1)
นายไพฑูรย์ แก้วทอง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจากตำแหน่ง
ประชาธิปัตย์



27(2)
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ประชาธิปัตย์
กระทรวงวัฒนธรรม



28(1)
นายธีระ สลักเพชร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจากตำแหน่ง
ประชาธิปัตย์



28(2)
นายนิพิฏ อินทรสมบัติ
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ประชาธิปัตย์
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ



29(1)
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจากตำแหน่ง
ประชาธิปัตย์



29(2)
นายวีระชัย วีระเมธีกุล
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553


-
กระทรวงอุตสาหกรรม



30(1)
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจาตำแหน่ง
เพื่อแผ่นดิน



30(2)
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ประชาธิปัตย์
กระทรวงศึกษาธิการ



31(1)
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
15 มกราคม พ.ศ. 2553
ไปดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข
ประชาธิปัตย์



31(2)
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
15 มกราคม พ.ศ. 2553


ประชาธิปัตย์



32(1)
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ไปดำรงตำแหน่ง รมว.อุตสาหกรรม
ประชาธิปัตย์



32(2)
นายไชยยศ จิรเมธากร
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553


เพื่อแผ่นดิน



33
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551


เพื่อแผ่นดิน
กระทรวงสาธารณสุข



34(1)
นายวิทยา แก้วภราดัย
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ลาออก
ประชาธิปัตย์



34(2)
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
15 มกราคม พ.ศ. 2553


ประชาธิปัตย์



35(1)
นายมานิต นพอมรบดี
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
10 มกราคม พ.ศ. 2553
ลาออก
ภูมิใจไทย



35(2)
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ
15 มกราคม พ.ศ. 2553


ภูมิใจไทย
การถวายสัตย์ปฏิญาณ
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลาประมาณ 17.35 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในการนี้ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่

ข้าพเจ้ายินดีที่ได้ฟังรัฐมนตรี ที่จะเข้ารับหน้าที่ต่อไปนี้ได้ปฏิญาณตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่อย่างดี เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งท่านมีหน้าที่ที่สำคัญที่สุด เพราะว่าจะต้องทำให้ประเทศชาติมีความสุข ความเรียบร้อย ถ้าท่านทำงานเรียบร้อย ทำให้บ้านเมืองเรียบร้อย ก็เป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็นบุญสำหรับประเทศ เพราะว่าประเทศต้องมีคนที่ดูแลความเป็นอยู่อย่างดี มิฉะนั้น ไม่สามารถที่จะปฏิบัติงานของประชาชนทั่วไปได้ดีนัก แต่ถ้าท่านได้ช่วยกันทำให้บ้านเมืองมีความสุข ความเรียบร้อย ก็ทำให้ประเทศชาติเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนคนไทยทุกคน ที่จะให้ประเทศชาติดำเนินไปโดยดี เพราะว่าถ้าไม่สามารถที่จะมีความเป็นไทยอยู่ได้ ก็ขอให้ท่านพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อที่จะให้คนไทยมีความเรียบร้อย มีความสุขเพราะว่าถ้าทำไม่ดีจะเป็นคนที่อยู่ในตำแหน่งสูง หรือ คนทั่วๆ ไป ทำไม่ดี คนหนึ่งคนใด ก็ทำให้ประเทศชาติล่มจมได้ และก็ท่านก็มีหน้าที่สำคัญเพราะท่านอยู่สูง มีหน้าที่สูง ก็จะต้องทำให้ประเทศชาติดำเนินไปโดยดี ก็ขอให้ท่านสามารถปฏิบัติงาน เพื่อความดีของประเทศ ความสงบสุขของประเทศ ซึ่งเป็นความจำเป็นที่สุด ถ้าท่านทำได้ท่านเองก็มีความสุข และประชาชนทั่วไปทุกพวก ทั้งหมู่ ทั้งเหล่า ทุกเหล่าได้มีความสุขทั้งนั้น คนไหนจะทำอะไรก็สามารถจะปฏิบัติงานได้ ถ้าท่านช่วยกันดูแลประเทศชาติให้มีความราบรื่น ท่านเองก็มีความสุขเหมือนกัน ฉะนั้นที่ท่านตั้งใจที่จะปฏิบัติงานโดยดีนั้น เป็นความดีที่ท่านจะทำสำหรับตัวเองด้วย สำหรับส่วนรวมด้วย เพราะว่า ถ้าส่วนรวมอยู่ดีท่านก็อยู่ดี ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงานโดยเรียบร้อย ทำให้ทั้งประเทศมีความราบรื่น ซึ่งเราต้องการความสงบของประเทศ ก็ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงาน โดยเรียบร้อยทุกอย่าง และขอให้ท่านมีความสำเร็จในงานการแต่ละส่วนที่ท่านต้องทำ[2]

นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล
รัฐบาลได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
การแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจที่มีต่อประชาชน ได้แก่ โครงการเรียนฟรี 15 ปี เบี้ยเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ เช็คช่วยชาติ ต้สกล้าอาชีพ ชุมชนพอเพียง ธงฟ้าช่วยประชาชน โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยค่าครองชีพ โครงการ 3 ลด 3 เพิ่มแก้ปัญหาว่างงาน โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร โครงการ อสม.เชิงรุก และโครงการช่วยเหลือ SMEs
สร้างความเชื่อมั่น ฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทย และสร้างความสมานฉันท์ ได้แก่ การฟื้นฟูความเชื่อมั่นประเทศไทย มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว การสร้างความสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ รถไฟฟ้า 5 สาย ถนนปลอดฝุ่น การปรับปรุงสถานีอนามัย และ 5 รั้วป้องกันยาเสพติด
แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ 2 ลด 3 เร่ง ยุทธศาสตร์รับ-รุกไข้หวัดใหญ่
ดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชน
เรียนฟรี 15 ปี
รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นการส้รางโอกาสทางการศึกษาให้ทุกคนได้มีโอกาสเท่าเทียมกัน โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 19,296,100,000 บาท เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ทุกคนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างเท่าเทียมกัน 15 ปี ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่าย 5 รายการ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินการไปแล้วร้อยละ 77 หรือเป็นเงินประมาณ 18,575,470,000 บาท ส่วนหนึ่งยังมีผู้ปกครองที่มีรายได้พอสมควรไม่ประสงค์จะรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลนำเงินในส่วนนี้ไปช่วยในการพัฒนาโรงเรียนในถิ่นธุรกันดาร 577 โรง รวมเป็นเงินประมาณ 40 ล้านบาท[3]
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
รัฐบาลต้องการสร้างหลักประกันรายได้ เป็นการตอบแทนการทำงานหนักมาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ โดยการจ่ายเงินค่ายังชีพ จำนวน 500 บาท ต่อเดือน ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป[4]
อสม. เชิงรุก
รัฐบาลเห็นความสำคัญของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งมีอยู่ 987,019 คนทั่วประเทศ ให้ได้รับเงินค่าสวัสดิการตอบแทน (ค่าป่วยการ) ในอัตราคนละ 600 บาทต่อเดือน[5]
การประกันรายได้เกษตรกร
โครงการประกันรายได้เกษตรกร มีเกษตรกรที่ทำสัญญาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 3.95 ล้านราย ซึ่งสูงกว่าโครงการจำนำรายได้ ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมเพียง 0.91 ล้านราย[6]
การนำที่ดินราชพัสดุเพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร
การนำที่ดินราชพัสดุจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร ได้ดำเนินการแล้วในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 114,376 ไร่ จำนวนเกษตรกร 6,894 ราย
การดูแลสุขภาพ
อภิสิทธิ์สานต่อนโยบายเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เรียกร้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เขาเตือนว่าสิทธิบัตรยาที่อยู่ในสภาวะถูกกดดันอย่างนี้อาจบานปลายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าสหรัฐอเมริกาทำสภาพการค้าของประเทศไทยให้ตกต่ำลง[7]
การออกกฎหมาย
พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสนอกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มโทษหนักกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของบุคคลที่ดูหมิ่นและมีความต้องการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก 3 - 20 ปี หรือปรับ 200,000 - 800,000 บาท[8] ในเวลาเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาว่ามี 29 เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาและข้อความแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์.[9]
การตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
การตรวจตราขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยเปรียบเทียบรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[10] อภิสิทธิ์จัดตั้งกองกำลังทหารเฉพาะกิจที่คอยต่อสู้กับอันตรายจากความคิดเห็น ที่พิจารณาถึงบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางการเมือง รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดเว็บไซต์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนแจ้งเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์กว่า 4,800 เว็บไซต์ถูกบล็อก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเคลื่อนไหวถูกมองโดยนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่รณรงค์ร่วมกันเพื่อระงับการอภิปรายทางการเมืองภายในราชอาณาจักร[11]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่ทำการของเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่คอยจ้องจับผิดรัฐบาล หนังสือพิมพ์ฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2 วันถัดมา อภิสิทธิ์ไปพบกับตัวแทนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยและสัญญาว่าจะเคารพสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ที่แสดงสีหน้าในขณะที่มีการพัฒนาบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่[12]
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ดูเพิ่มที่ ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2551
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 กระทรวงการต่างประเทศของไทย มีคำสั่งเรียกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงพนมเปญ กลับประเทศ เพื่อเป็นการลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ตอบโต้การให้สัมภาษณ์กล่าวหากระบวนการยุติธรรมของไทย และเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ จากกรณีที่กัมพูชาแต่งตั้งพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทักษิณ ถือเป็นนักโทษที่ประเทศไทยต้องการตัวตามหมายจับในคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ซึ่งมีโทษจำคุก 2 ปี[13]
เช็คช่วยชาติ
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทย จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน โดยเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551[14] ในต้นปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจถูกคาดหวังว่าจะ ว่าจ้างตามสัญญา 3% ตลอดทั้งปี[15] เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยสร้างกำลังซื้อภายในประเทศในวงกว้างอย่างทั่วถึง เห็นผลเร็วและรั่วไหลน้อยที่สุด เพื่อพยุงเศรษฐกิจช่วงเวลาที่เศรษฐกิจหดตัวในระยะเร่งด่วน โดยการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศโดยนำเงินใส่มือประชาชนผู้มีรายได้น้อยโดยตรง รายละ 2,000 บาท (สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท)[16]

ความไม่สงบในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2552

การตอบรับ คำชื่นชม
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 08.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายจาง จิ่ว หวน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยได้เดินทางเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที จากนั้น นายจาง จิ่ว หวน เปิดเผยว่า มาเยี่ยมคำนับและนำสาส์นจากนายกรัฐมนตรีจีนมาแสดงความยินดีกับนายอภิสิทธิ์ในโอกาสดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลจีนและประชาชนจีนจะยึดถือนโยบายเป็นมิตรกับประเทศไทย โดยจะพัฒนาความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์ การศึกษา การท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ยืนยันจะเดินทางไปเยือนจีนในเวลาที่เหมาะสม นายจาง จิ่ว หวน กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไทยได้ยืนยันที่จะมีการจัดการประชุมอาเซียนซัมมิท ในเร็วๆนี้ โดยจะมีหลายประเทศเข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งอินเดีย จีน เกาหลี เป็นต้น
และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวหลังเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า นายอภิสิทธิ์ มีคุณสมบัติและความ สามารถที่ดีเยี่ยม เพราะเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอีตัน อีกทั้งจบมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ พร้อมแสดงความเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลชุดนี้มีภารกิจใหญ่ 4 ประการคือการฟื้นความมั่นใจของนานาชาติในประเทศไทย สร้างความสมานฉันท์ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอีกครั้ง โดยยึดหลักนิติธรรม รักษาความปลอดภัยของสนามบิน ซึ่งถือเป็นประตูในการท่องเที่ยวของไทย สร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งจะดึงให้มีการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ในการเข้าพบครั้งนี้ ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นแฟนฟุตบอลอังกฤษ จึงได้มอบของขวัญเป็นเสื้อยืดนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดยด้านหลังมีชื่อ นายอภิสิทธิ์ และหมายเลข 27 ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย
เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552 เวทีการเสวนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวระดับโลก ซึ่งประกอบด้วยเจ้าของธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ทั่วโลก ได้กล่าวชื่นชมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าเข้าถึงคุณค่าและเข้าใจความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยามเศรษฐกิจถดถอย
เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้นำเสนอคำชื่นชมของสื่อต่างประเทศ ได้แก่ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น สำนักข่าวเอ็นเอชเค และสำนักข่าวอื่นๆ ว่าได้นำเสนอข่าวชื่นชมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่สามารถควบคุมสถานการณ์ในการชุมชนของกลุ่มคนเสื้อแดงได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนี้สำนักข่าวรอยเตอร์ ยังได้นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ว่า การจลาจลของกลุ่มผู้ชุมนุมครั้งนี้อาจเป็นความพยายามเฮือกสุดท้ายของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อกลับคืนสู่อำนาจ ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยังสามารถฟื้นฟูความน่าเชื่อถือที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552 นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงการที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ประเมินผลการทำงานของรัฐบาลในช่วง 1 ปีโดยให้คะแนนในระดับ บี เพราะท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ต่อให้หาเทวดาที่ไหนมาทำงาน ก็ไม่สามารถทำได้ดีไปกว่านี้แล้ว ที่สำคัญต้องการให้รัฐบาลพยายามประคองตัวเดินหน้าแก้ไขปัญหาของชาติต่อไปให้ได้ โดยไม่ให้เกิดการยุบสภาในเวลาที่เร็วเกินไป เพราะหากมีการยุบสภาเกิดขึ้นเร็ว ก็ทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันต้องดูแลอย่าให้เกิดความขัดแย้งเพราะจะบั่นทอนความเชื่อมั่นลงไปอีก เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นทันตาเห็นทันทีแต่จะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า หรือทำให้ลูกหลานของเราเดือดร้อน[19]
คำวิจารณ์
เมื่อช่วงสายวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่พรรคเพื่อไทย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้แถลงว่า ขอเสนอฉายา ครม.อภิสิทธิ์ 1 เพื่อให้ประชาชนโหวตเลือกระหว่างฉายา "ครม.ต่างตอบแทน" กับ "ครม.ไอ้โหนไอ้ห้อย" ผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2280-6888
ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ให้สัมภาษณ์ถึงโฉมหน้า ครม.อภิสิทธิ์ 1 ว่า เป็นรัฐบาลที่ไปปล้นเขามา ปล้นกลางอากาศ หรือไฮแจ็ค โดยไม่เกรงใจและไม่คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน [20]
วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน ผู้อำนวยการเลือกตั้งซ่อมพรรคเพื่อไทย กล่าวบนเวทีปราศรัยใหญ่ช่วย นายขจิตร ชัยนิคม ผู้สมัครเลือกซ่อม ส.ส.เขต 1 มหาสารคามหาเสียงว่า หลังเลือกตั้งวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2551 ฝ่ายค้านจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และขอตั้งฉายารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ว่า เป็น "รัฐบาลเด็กอนุบาล" เพราะมีมือที่มองเห็นและไม่เห็นช่วยอาบน้ำประแป้งให้เสร็จ แล้วเอาไปส่งโรงเรียนเอาใครก็ไม่รู้มาเป็นรัฐมนตรี
ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวถึงกรณีที่สำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมถอนฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาลว่าตนของตั้งฉายาให้กับรัฐบาลชุดนี้ว่า รัฐบาลชุดป้ายสี ตัดตอน เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นการสมยอมกันของ นายลอยเลื่อน บุญนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กับกลุ่มพันธมิตรฯ โดยคดีดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมากกลับจะถอนฟ้อง มีการตัดตอนเพื่อไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม [22]
ผลสำรวจ
ดัชนีความสุข
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เอแบคโพลเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัด จำนวน 3,516 ตัวอย่างเกี่ยวกับดัชนีความสุขภายหลังการเปลี่ยนขั้วการเมือง ผลปรากฏว่าความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 4.84 ในช่วงเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 6.55 จากคะแนนเต็ม 10 และถือว่าเป็นค่าความสุขที่สูงที่สุดตั้งแต่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2551 โดยพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 79.7 นอนหลับค่อนข้างสนิทถึงนอนหลับได้สนิทขึ้นหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว ในขณะที่ร้อยละ 9.7 นอนหลับได้ระดับปานกลาง และร้อยละ 10.6 นอนไม่ค่อยหลับถึงนอนไม่หลับเลย นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก หรือร้อยละ 38.2 คิดว่าทิศทางการเมืองจะดีขึ้นหลังจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 28.2 คิดว่าจะแย่ลง และร้อยละ 33.6 ยังไม่มีความเห็นในเรื่องนี้[23]
ผลงานรัฐบาล
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ผลงานรัฐบาลในรอบ 1 ปี ในทรรศนะของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ผลการสำรวจพบว่าผลงานรัฐบาลที่ประชาชนพอใจมากที่สุดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา อันดับที่หนึ่งได้ 8.15 คะแนน คือ การปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สำหรับอันดับแรกที่ประชาชนพอใจผลงานรัฐบาลน้อยที่สุด ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้คะแนนพอใจเฉลี่ย 5.10
โดยคะแนนรวมของพลงานรัฐบาลอยู่ที่ 6.35 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มีความหมายว่า ประชาชนพอใจต่อผลงานรัฐบาลค่อนข้างมาก[24]



ศาลยุติธรรมไทย
ปัจจุบันนี้ศาลและกระทรวงยุติธรรมได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน ทางด้าน การพัฒนาบุคลากรและการขยายศาลยุติธรรมให้กว้างขวางครอบคลุมคดีความทุกด้านตามความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพื่อประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมโดยเสมอหน้าและเท่าเทียมกันทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะอาชีพ และทุกท้องที่แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม การที่ศาลและกระทรวงยุติธรรมพัฒนาก้าวหน้ามาเช่นนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถาบันยุติธรรมอย่างแน่นแฟ้นตลอดมาโดยทรงเป็นองค์ตุลาการตั้งแต่สมัยโบราณกาลมา แม้ปัจจุบันศาลก็ดำเนินการภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์ ในโอกาสที่กระทรวงยุติธรรมได้สถาปนามาครบ 100 ปี (พ.ศ. 2535) ได้มีการจัดงานที่ระลึกขึ้นและถือเป็นโอกาสอันดีที่จะย้อนรอยไปสู่อดีต เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทั้งหลายได้ทราบถึงความเป็นมาของศาลไทยและกระทรวงยุติธรรมตลอดจนความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์ไทยกับกระบวนการยุติธรรม ย้อนร้อยอดีตไป 700 ปี เริ่มที่
กรุงสุโขทัย
ในสมัยนี้บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ดังคำพังเพยที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ประชาชนพลเมืองมีน้อย อยู่ในศีลในธรรมคดีความจึงมีไม่มาก พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกัน พระมหากษัตริย์จึงทรงตัดสินคดีความด้วยพระองค์เองเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มี หลักฐานจากศิลาจารึกว่า พระมหากษัตริย์ได้ทรงมอบให้ขุนนางตัดสินคดีแทนด้วย ในสมัยนี้พอมีหลักฐานเกี่ยวกับการพิจารณาคดีจากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง “ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจมันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึงชม ไพร่ฟ้า ลูกเจ้า ลูกขุนผิแลผิแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้วจึงแล่งความแก่ข้าด้วยซื่อ บ่อเข้าผู้ลักมักผู้ซ่อนเห็นข้าวท่านบ่อใคร่พิน เห็นสินท่านบ่อใคร่เดือด” จากศิลาจารึกนี้ทำให้ทราบว่า การร้องทุกข์ในสมัยนั้นร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ไต่สวนพิจารณาคดีด้วยพระองค์เอง หรือให้ขุนนางเป็นผู้ไต่สวนให้ถ่องแท้และตัดสินคดีด้วยความเป็นธรรม ไม่ลำเอียงและไม่รับสินบน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญใน การพิจารณาคดีในสมัยนั้น สำหรับสถานที่พิจารณาคดีที่เรียกว่า ศาลยุติธรรมนั้นในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏว่ามีศาล ตัดสินคดีเหมือนในสมัยนี้ แต่ก็มีหลักฐานจากหลักศิลาจารึกว่า ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ ป่าตาลเป็นที่พิจารณาคดี ซึ่งพอเทียบเคียงได้ว่าเป็นศาลยุติธรรมในสมัยนั้น “1214 ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ได้ 14 เท่า จึงให้ช่างฟันกระดาษเขียนตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนหก 8 วัน วันเดือนเต็มเดือนบั้ง ฝูงปู่ครูเถร มหาเถรขึ้นนั่งเหนือกระดานหินสวดธรรมแก่อุบาสก ฝูงถ้วยจำศีล ผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยขึ้นนั่งเหนือกระดาษหิน ให้ฝูงถ้วยลูกเจ้า ลูกขุน ฝูงถ้วยถือบ้านถือเมือง ในกลางป่าตาลมีศาลา 2 อัน อันหนึ่งชื่อศาลพระมาส อันหนึ่งชื่อพุทธศาลา กระดานหินนี้ชื่อมนังคศิลาบาท” จากศิลาจารึกนี้พอเทียงเคียงได้ว่า ป่าตาลเป็นศาลยุติธรรม สมัยสุโขทัย และพระแท่นมนังคศิลาบาทเป็นเสมือนบัลลังก์ศาลในสมัยนั้น สำหรับกฎหมายที่ใช้ในสมัยสุโขทัยซึ่งปรากฎในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งนั้น มีลักษณะคล้ายกฎหมายในปัจจุบัน เช่น กฎหมายกรรมสิทธิ์ที่ดิน “หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน” กฎหมายพาณิชย์ “ใครจะใคร่ค้าม้าค้า ใครจะใคร่ค้าเงินค้า ค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส” นอกจากนั้นแล้วในหลักศิลาจารึกยังกล่าวถึงกฎหมายลักษณะโจรและการลงโทษ เช่น ขโมยข้าทาสของผู้อื่น “ผิผู้ใดหากละเมิน และไว้ข้าท่านพ้น 3 วัน คนผู้นั้นไซร้ท่านจะให้ไหมแลวันแลหมื่นพัน” นอกจากกฎหมายต่าง ๆ ที่มีลักษณะเหมือนกฎหมายปัจจุบันแล้ว ยังใช้กฎหมายคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของอินเดียด้วย สำหรับการลงโทษในสมัยสุโขทัยตามหลักศิลาจารึก กฎหมายลักษณะโจรมีโทษเพียง ปรับเท่านั้น ไม่มีหลักฐานการลงโทษที่รุนแรงถึงตาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีไม่มากและเป็นผู้ที่เคร่งครัดอยู่ในศีลในธรรมตามหลักพุทธศาสนา ประชาชนจึงอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
[แก้ไข]
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี บ้านเมืองก็เจริญขึ้นตามลำดับ ราษฎรก็เพิ่มมากขึ้น ทำให้พระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์มีมากขึ้น จึงมิอาจทรงพระวินิจฉัยคดีความด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึงเช่นกาลก่อน จึงทรงมอบอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยอรรถคดีของอาณาประชาราษฎร์ให้แก่ ราชครู ปุโรหิตา พฤฒาจารย์ ซึ่งเป็นมหาอำมาตย์พราหมณ์ในราชสำนักและเสนาบดีต่าง ๆ เป็นผู้ว่าการยุติธรรมต่างพระเนตรพระกรรณ ทำให้พระมหากษัตริย์ไม่อาจใกล้ชิดกับราษฎรเหมือนสมัยสุโขทัย แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะดูเหมือนห่างไกลจากราษฎร แต่ว่าบทบาททางด้านการยุติธรรมนั้นกลับดูใกล้ชิดกับราษฎรอย่างยิ่ง โดยทรงเป็นที่พึงสุดท้ายของราษฎร ถ้าราษฎรเห็นว่าตนไม่ได้รับความยุติธรรมในการพิจารณาคดีก็มีสิทธิที่จะถวายฎีกา เพื่อขอให้พระมหากษัตริย์พระราชทานความเป็นธรรมแก่ตนได้ ซึ่งเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อพระมหากษัตริย์ทรง พระวิจารณญาณวินิจฉัยอรรถคดีใดด้วยพระองค์เอง พระบรมราชวินิจฉัยในคดีนั้นก็เป็นบรรทัดฐานที่ศาลสถิตย์ยุติธรรมพึงถือปฏิบัติสืบต่อมา ผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยุติธรรมแทนพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมี 3 กลุ่มได้แก่ ลูกขุน ณ ศาลหลวง ตระลาการ ผู้ปรับ การพิจารณาคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้กล่าวหาหรือผู้ที่จะร้องทุกข์ต้องร้องทุกข์ต่อจ่าศาลว่าจะฟ้องความอย่างไรบ้าง จ่าศาลจะจดถ้อยคำลงในหนังสือแล้วส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวงพิจารณาว่า เป็นการฟ้องร้องตามกฎหมายควรรับไว้พิจารณาหรือไม่ ถ้าเห็นควรรับไว้พิจารณาจะพิจารณาต่อไปว่า เป็นหน้าที่ของศาลกรมไหนแล้วส่งคำฟ้องและตัวโจทก์ไปยังศาลนั้น เช่น ถ้าเป็นหน้าที่กรมนา จะส่งคำฟ้องและโจทก์ไปที่ศาลกรมนา ตระลาการศาลกรมนาก็จะออกหมายเรียกตัวจำเลยมาถามคำให้การไต่สวนเสร็จแล้วส่งคำให้การไปปรึกษาลูกขุน ณ ศาลหลวงว่ามีข้อใดต้องสืบพยานบ้าง เมื่อลูกขุนส่งกลับมาแล้ว ตระลาการก็จะทำการสืบพยานเสร็จแล้วก็ทำสำนวนให้โจทก์และจำเลยหยิกเล็บมือที่ดินประจำผูกสำนวน เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าเป็นสำนวนของโจทก์ จำเลย แล้วส่งสำนวนคดีไปให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง ลูกขุน ณ ศาลหลวงจะพิจารณาคดีแล้วชี้ว่าฝ่ายใดแพ้คดี เพราะเหตุใดแล้วส่งคำพิพากษาไปให้ผู้ปรับ ผู้ปรับจะพลิกกฎหมายและกำหนดว่าจะลงโทษอย่างไรตามมาตราใด เสร็จแล้วส่งคืนให้กรมนา ตระลาการกรมนาจะทำการปรับไหมหรือลงโทษตามคำพิพากษา หากคู่ความไม่พอใจตามคำพิพากษา ก็สามารถอุทธรณ์ต่อผู้บังคับบัญชาหัวเมืองนั้น ๆ ถ้ายังไม่พอใจก็สามารถถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้อีก ศาลในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นมี 4 ศาลตามการปกครองแบบจตุสดมภ์ โดยเริ่มที่กรมวังก่อนแล้วจึงขยายไปยังที่กรมอื่น ๆ ในตองกลางกรุงศรีอยุธยามีการตั้งกรมต่าง ๆ ขึ้นจึงมีศาลมากมายกระจายอยู่ตามกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่พิจารณาคดีที่เกี่ยวกับกรมของตน ในช่วงกลางสมัยกรุงศรีอยุธยามีการรวมรวบกรมต่าง ๆ ขึ้นเป็นกระทรวงจึงแบ่งศาลออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ศาลความอาญา ศาลความแพ่ง สองศาลนี้ขึ้นอยู่กับกระทรวงวัง ชำระความคดีอาญาและคดีความแพ่งทั้งปวง ศาลนครบาล ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล ชำระความคดีโจรผู้ร้าย เสี้ยนหนามแผ่นดิน ทั่วไป ศาลการกระทรวง ขึ้นอยู่กับกระทรวงอื่น ๆ ชำระคดีที่อยู่ในหน้าที่ของกระทรวงนั้น ๆ ส่วนสถานที่พิจารณาคดีหรือที่ทำการของศาลในสมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากศาลหลวงที่ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวังแล้ว ศาลอื่น ๆ ไม่มีที่ทำการโดยเฉพาะ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า ที่ทำการของศาลหรือที่พิจารณาคดีคงใช้บ้านของตระลาการของศาลแต่ละคนเป็นที่ทำการ สำหรับที่ตั้งของศาลหลวงนั้นมีหลักฐานตามหนังสือประชุมพงศาวดารภาค 63ว่าด้วยตำนานกรุงเก่ากล่าวว่า ศาลาลูกขุนนอก คือศาลหลวงคงอยู่ภายในกำแพงชั้นนอกไม่สู้ห่างนัก คงจะอยู่มาทางใกล้กำแพงริมน้ำ เนื่องจากเมื่อขุดวังได้พบดินประจำผูกสำนวนมีตราเป็นรูปต่าง ๆ และบางก้อนก็มีรอยหยิกเล็บมือ ศาลหลวงคงถูกไฟไหม้เมือเสียกรุง ดินประจำผูกสำนวนจึงสุกเหมือนดินเผา มีสระน้ำอยู่ในศาลาลูกขุนใน สระน้ำนี้ในจดหมายเหตุซึ่งอ้างว่าเป็นคำให้การของขุนหลวงหาวัด ว่าเป็นที่สำหรับพิสูจน์คู่ความให้ดำน้ำในสระนั้น เพื่อพิสูจน์ว่ากล่าวจริงหรือกล่าวเท็จ
กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายดั้งเดิมของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นหลักกฎหมายที่ลูกขุนฝ่ายในศาลหลวงจะต้องยึดถือปฏิบัติ และใช้ในการวินิจฉัยคดี มีบทกำหนดลักษณะของตุลาการ ข้อพึงปฏิบัติของตุลาการ คำสั่งสอนตุลาการ
2. พระราชศาสตร์ เป็นพระบรมราชวินิจฉัยในอรรถคดีของพระมหากษัตริย์ เช่น การวินิจฉัยคดีที่ราษฎรฎีกา เป็นต้น ซึ่งต้องยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อมาจนกลายเป็นกฎหมาย
3. พระราชกฎหมาย กำหนดกฎหมายอื่น ๆ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์พระองค์ต่าง ๆ ทรงตราขึ้นตามความเหมาะสม และความจำเป็นของแต่ละสมัยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
การลงโทษผู้กระทำผิดในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความรุนแรงมากถึงขั้นประหารชีวิต การประหารชีวิตโดยทั่วไป ใช้วิธีตัดศีรษะด้วยดาบ แต่ถ้าเป็นคดีกบฎประหารชีวิตด้วยวิธีที่ทารุณมาก การลงโทษหนักที่ไม่ถึงขั้นประหารชีวิตจะเป็นการลงโทษทางร่างกายให้เจ็บปวดทรมานโดยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้เข็ดหลาบ
[แก้ไข]
สมัยกรุงธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระราชภารกิจในการสงคราม เพื่อกอบกู้เอกราชจากพม่าและการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นบึกแผ่น ประกอบกับพระองค์ทรงครองราชย์เพียง 15 ปี จึงมิได้เปลี่ยนแปลงระบบการยุติธรรมคงใช้กฎหมายและระบบศาลของกรุงศรีอยุธยาสืบเนื่องมา
[แก้ไข]
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พระมหากษัตริย์ไทยทรงแสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ชัดแจ้งอีกครั้งว่าพระองค์ท่านทรงตั้งพระทัยที่จะประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม ให้แก่อาณาประชาราษฎร์อย่างแท้จริง เมื่อนายบุญศรีช่างเหล็กหลวงได้ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีโดยอำแดงป้อมผู้เป็นภรรยาได้นอกใจทำชู้กับนายราชาอรรถและมาฟ้องหย่านายบุญศรีไม่ยอมหย่าให้ แต่ลูกขุนตัดสินให้หย่าได้ นายบุญศรีเห็นว่าตัดสินไม่เป็นธรรมจึงร้องทุกข์ถวายฎีกา สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสอบสวน พบว่าลูกขุนตัดสินต้องตรงความกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า “ชายหาผิดมิได้หญิงขอหย่า ท่านว่าให้หญิงหย่าชายได้” พระองค์ทรงพระราชดำริว่า หลังจากเสียกรุงแก่พม่าแล้ว มีการดัดแปลงแต่งเติมกฎหมายให้ฟั่นเฟือนวิปริต ขาดความยุติธรรม สมควรที่จะชำระสะสางใหม่เพื่อให้ทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม จึงทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรวจสอบกฎหมายต่าง ๆ ให้ตรงตามพระธรรมศาสตร์ แล้วจัดเป็นหมวดหมู่ และเพื่อป้องกันการดัดแปลงแก้ไขจึงทรงโปรดให้จัดทำเป็น 3 ฉบับมีข้อความตรงกันแยกเก็บไว้ที่ห้องเครื่อง หอหลวง และศาลหลวง แห่งละ 1 ฉบับแต่ละฉบับประทับตราเป็นสัญลักษณ์ 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว เรียกว่า กฎหมายตราสามดวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเอาพระทัยใส่ในการพิจารณาคดีกับทรงห่วงใยในการดำเนินคดีต่ออาณาประชาราษฎร์ จึงทรงให้ขุนศาลตุลาการพิจารณาคดีโดยรวดเร็ว โดยการกำหนดขั้นตอนให้ปฏิบัติหากมีปัญหาให้นำความกราบบังคมทูล พระมหากรุณาห้ามกดความของราษฎรให้เนิ่นช้าเป็นอันขาดพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ทรงมีพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งต่องานศาล และกระทรวงยุติธรรมดังจะกล่าวต่อไป ในด้านการพิจารณาคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนตั้งกระทรวงยุติธรรมนั้น หลักใหญ่ยังคงใช้วิธีเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา กฎหมายที่ใช้บังคับในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ เป็นกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่รวบรวมใหม่เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ซึ่งต่อมาเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมและบัญญัติใหม่เพื่อให้เหมาะแก่กาลสมัยการบังคับใช้กฎหมายและระบบพิจารณาคดีแบบกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกไม่มีปัญหา แต่นานเข้ากรุงรัตนโกสินทร์มีการติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ สภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปทำให้ระบบศาลในการพิจารณาคดีกับกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้บังคับมาแต่โบราณไม่เหมาะสม เนื่องจากการพิจารณาไต่สวนคดีล้าสมัย เช่น การทรมานให้รับสารภาพ และการลงโทษที่รุนแรงและทารุณต่าง ๆ ปัญหานี้เริ่มชัดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อชาวต่างประเทศขอทำสนธิสัญญาสภาพนอกอาณาเขตไม่ยอมขึ้นศาลไทย เริ่มจากประเทศอังกฤษขอตั้งศาลกงสุลประเทศแรก เพื่อพิจารณาคดีคนในบังคับของอังกฤษตกเป็นจำเลย ต่อมาชาติอื่น ๆ ก็ขอตั้งศาลกงสุลของตนบ้าง เช่น ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส ทำให้คนไทยต้องเสียเอกราชทางศาลบางส่วนไปเมื่อมีกรณีพิพาทกับชาวต่างประเทศ มีผู้พิพากษาเป็นชาวต่างประเทศ ดังนั้นจึงจำต้องปรับปรุงการศาลให้ทันสมัย โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมศาลต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายมารวมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน จัดตั้งศาลสถิตย์ยุติธรรมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2425 (ร.ศ. 101) โปรดเกล้าให้จารึกเรื่องที่ทรงพระราชดำริให้สร้างศาลหลวงนี้ไว้ในหิรัญบัตรบรรจุหีบไว้ในแท่งศิลาใหญ่ ซึ่งเป็นศิลาปฐมฤกษ์ เพื่อให้เป็นสิ่งสำคัญประจำศาลสืบไปภายหน้า ขอให้ธรรมเนียมยุติธรรมนี้จงเจริญรุ่งเรืองแผ่ไพศาลสมดังพระบรมราชประสงค์โดยสุจริตศาลสถิตย์ยุติธรรมนี้เป็นที่ประชุมของลูกขุนตระลาการ ขุนศาลทุกกระทรวง และกำหนดให้ผู้พิพากษาทำหน้าที่พิจารณาคดี ีและศาลยุติธรรมอยู่ฝ่ายเดียวมิให้เกี่ยวกับราชการอื่น เพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นที่เก็บรักษากฎหมายต่าง ๆ ทั้งเก่าและใหม่ทุกประเภทให้อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อจะให้สอบสวนง่ายทำให้คดีเสร็จเร็วขึ้น
ต่อมา 1 ปีประเทศอังกฤษยอมผ่อนปรนเอกราชทางการศาลกับไทย โดยยอมให้ตั้งศาลต่างประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ขึ้นเป็นแห่งแรก ศาลนี้ประกอบด้วย ผู้พิพากษาไทย และกงสุลอังกฤษนั่งร่วมกันพิจารณาคดีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความกันเอง หรือคนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แต่อังกฤษก็ยังสงวนสิทธิที่จะถอนคดีไปให้ศาลกงสุลอังกฤษพิจารณาคดีเอง
ต่อมาปี พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ ให้มารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกันคือกระทรวงยุติธรรม โดยใช้อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรมเป็นที่ทำการ โดยเริ่มจากการรวบรวมศาลในกรุงเทพฯ ก่อนทำให้ศาลในกรุงเทพฯ ซึ่งเคยมีถึง 16 ศาลเหลือเพียง 7 ศาล ครั้นรวบรวมศาลในกรุงเทพฯ ให้สังกัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว ในปี พ.ศ. 2439 ได้รวบรวมศาลหัวเมืองต่าง ๆ ตั้งเป็นศาลมณฑลสังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยเริ่มจากตั้งศาลมณฑลกรุงเก่าเป็นแห่งแรกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้พระที่นั่งพิมานรัถยาในพระราชวังจันทร์เกษมเป็นที่ทำการ หลังจากนั้นได้ตั้งศาลมณฑลอื่น ๆ ตลอดราชอาณาจักร ศาลหัวเมืองในขณะนั้นมี 3 ประเภท คือ ศาลมณฑล ศาลเมือง และศาลแขวง เมื่อสถาปนากระทรวงยุติธรรมและจัดระเบียบการตั้งศาลหัวเมืองแล้ว ได้มีการปฏิรูปศาลให้ทันสมัยมากมาย เช่น ดำเนินการแยกอำนาจบริหารและอำนาจตุลาการออกจากกัน โดยให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก ส่วนหน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีเป็นหน้าที่ของผู้พิพากษา ปรับปรุงระบบการพิจารณาคดี การสืบพยานให้รวดเร็วและทันสมัย เปลี่ยนโทษเฆี่ยนตีมาเป็นโทษจำขังแทน เลิกวิธีพิจารณาคดีโจรผู้ร้ายตามจารีตนครบาล ร.ศ. 115 โดยยกเลิกวิธีทรมานต่าง ๆ ให้รับสารภาพ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงกฎหมายและระบบศาลต่าง ๆ อีกหลายประการ นับว่าการจัดตั้งกระทรวงยุติธรรมก่อให้เกิดการพัฒนาทางศาลอย่างมากมาย ภายหลังจากการตั้งกระทรวงยุติธรรม 1 ปีก็ยกเลิกศาลกรมกองตระเวน ตั้งใหม่เป็นศาลโปริสภา ซึ่งเป็นต้นกำเนิดศาลแขวงต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับพิจารณาคดีเล็ก ๆ น้อยสำหรับประชาชน 4 จังหวัดภาคใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ คือจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้กฎหมายอิสลามบังคับในคดีครอบครับและมรดก สำหรับอิสลามศาสนิกที่มีภูมิลำเนาใน 4 จังหวัดดังกล่าว มีดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้พิพากษาร่วมด้วยซึ่งเป็นการขยายความยุติธรรมให้ทั่วถึงยิ่งขึ้นและยังถือเปฏิบัติมาตราบเท่าทุกวันนี้
พ.ศ. 2447 ประเทศฝรั่งเศส เดนมาร์ก และอิตาลี ยินยอมให้คนในบังคับของตนที่อยู่ในภาคเหนือขึ้นศาลต่างประเทศที่จังหวัดเชียงใหม่ทำนองเดียวกับ ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2450 ฝรั่งเศสได้ทำสนธิสัญญายินยอมให้คนในบังคับของฝรั่งเศสที่เป็นชาวเอเชียขึ้นศาลต่างประเทศทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เมื่อประเทศไทยใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 เมื่อ พ.ศ. 2451 อันเป็นประมวลกฎหมายระบบสากลฉบับแรกของไทย หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ได้ทยอยทำสนธิสัญญาคืนอำนาจศาลให้ไทยโดยให้คนในบังคับของตนขึ้นศาลไทย
ต่อมาปี พ.ศ. 2455 จึงมีการแยกอำนาจตุลาการออกจากกระทรวงยุติธรรมตามระเบียบจัดราชการกระทรวงยุติธรรม ร.ศ. 131 ซึ่งกำหนดให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจบังคับบัญชาฝ่ายธุรการของกระทรวงยุติธรรมอย่างเดียว ส่วนอธิบดีศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการ การโยกย้าย และเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษา และวินิจฉัยข้อกฎหมายอันเป็นหลักที่ยึดถือจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนศาลเมืองเป็นศาลจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองกระทรวงมหาดไทยที่เปลี่ยนเมืองเป็นจังหวัด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรประเทศสงครามกับฝ่ายเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี
ในปี พ.ศ. 2457 เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรชนะสงคราม ไทยได้รับเอกราชทางการศาลคืนจากเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ในปี พ.ศ. 2462 ส่วนประเทศพันธมิตรที่ร่วมชนะสงคราม ก็ได้รับรองเอกราชทางการศาลไทยด้วย ในช่วงนี้นับว่าไทยได้รับเอกราชทางการศาลเกือบสมบูรณ์ นอกจากนั้นประเทศสัมพันธมิตรก็ยังให้สนธิสัญญาว่า หากประเทศไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาคดี และกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมครบถ้วนแล้วจะให้เอกราชทางการศาลไทยโดยสมบูรณ์ภายใน 5 ปี ในขณะนั้นประเทศไทยได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 อยู่หนึ่งฉบับ และได้รีบเร่งร่างกฎหมายที่เหลืออีก 3 ฉบับ
พ.ศ. 2475 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแก่ปวงชนชาวไทย การดำเนินการในเรื่องเอกราชทางการศาลได้กระทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่ง พ.ศ. 2478 จึงได้ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
พ.ศ. 2477 ครบถ้วนเป็นฉบับสุดท้าย
พ.ศ. 2481 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประเทศต่าง ๆ จึงได้ยกเลิกสนธิสัญญาโดยให้เอกราชทางการศาลไทยจนหมดสิ้นซึ่งเร็วกว่ากำหนด 2 ปี พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
พ.ศ. 2477 ได้เปลี่ยนศาลมณฑลเป็นศาลจังหวัด และเรียกศาลในสังกัดกระทรวงยุติธรรมว่า ศาลยุติธรรม แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น
ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลขึ้นอีกหลายศาล กล่าวคือ พ.ศ. 2495 จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางที่กรุงเทพฯ เป็นแห่งแรก และต่อมาได้ขยายไปต่างจังหวัดด้วย
พ.ศ. 2523 จัดตั้งศาลแรงงานในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2525 จัดตั้งศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนย่านฝั่งธนบุรี
พ.ศ. 2529 จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางในกรุงเทพฯ พ.ศ. 2535 เปลี่ยนแปลงศาลคดีเด็กและเยาวชนเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว เพื่อขยายการคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2535 เป็นวาระครบ 100 ปี กระทรวงยุติธรรม มีศาลสังกัดกระทรวงยุติธรรมดังนี้
ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของประเทศมีศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา
ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลสูงชั้นกลางมี 4 ศาล ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีเขตอำนาจในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง และภาคตะวันออก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจในเขตพื้นที่ภาคตะวัตออกเฉียงเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคใต้
ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับฟ้องในเรื่องชั้นคดี ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง และศาลแขวงต่าง ๆ กับศาลชั้นต้นในจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดทางด้านการยุติธรรมนับตั้งแต่จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ก็ได้สร้างความเจริญให้แก่ศาลและวงการตุลาการของไทยในการพัฒนาก้าวหน้าควบคู่กันมาโดยตลอดจนกระทั่งเป็นศาลที่ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศในปัจจุบันนี้กระทรวงยุติธรรม ก็มีบทบาทในการสนับสนุนงานยุติธรรมของศาลด้านงบประมาณ งานด้านอาคารสถานที่ และงานธุรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เช่น จัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลางและสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลต่าง ๆ เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี ทำให้ลดจำนวนคดีลง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยิ่งจึงขยายงานคุมประพฤติ ตั้งเป็นกรมคุมประพฤติ ใน พ.ศ. 2535 จัดตั้งสำนักงานอนุญาโตตุลาการ เพื่อเผยแพร่การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการโดยไม่ต้องขึ้นศาลในด้านการพัฒนาที่ทำการของศาลนั้น กระทรวงยุติธรรมก็ได้ดำเนินการจัดตั้งที่ทำการศาลเพิ่มเติมตลอดมา เพื่อให้เพียงพอต่อการพิจารณาคดีและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในโอกาสครบ 100 ปีกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ. 2535 กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการเปิดอาคารที่ทำการใหม่ สำหรับศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลภาษีอากรกลาง จะเห็นได้ว่ากระทรวงยุติธรรมนั้นได้ปรับปรุงพัฒนาตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรองรับงานยุติธรรมของศาลได้ ใน พ.ศ. 2534 แบ่งเป็น 4 หน่วยงาน การบริหารงานราชการของกระทรวงยุติธรรมมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีของศาลเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วและเป็นธรรม อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันกับศาลยุติธรรม ดังนั้นศาลและกระทรวงยุติธรรม จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นตลอดระยะเวลา 100 ปี
สถาบันหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่องานศาลและกระทรวงยุติธรรม คือ องค์พระมหากษัตริย์ อันเป็นต้นกำเนิดของศาลยุติธรรมและมีบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบศาลและงานยุติธรรม ดังที่ทราบกันมาแล้วแม้ในระยะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว องค์พระมหากษัตริย์ยังทรงให้ความสำคัญต่องานยุติธรรมมิได้ยิ่งหย่อนกว่าบูรพกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล แม้จะมีพระชนม์น้อยแต่ทรงสนพระทัยในกิจการศาลเป็นอันมาก ทรงเสด็จเหยียบศาลหัวเมือง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2489 ณ ศาลจังหวัดนครปฐม และครั้งที่ 2 วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ณ ศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา การเสด็จเหยียบศาลถึง 2 ครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จประทับบัลลังก์ร่วมกับพระอนุชา ในการพิจารณาพิพากษาคดีกับผู้พิพากษา คดีที่ทรงเป็นประธานในการพิจารณาพิพากษาทั้ง 2 ครั้ง เป็นคดีลักทรัพย์ซึ่งจำเลยไม่เคยทำความผิดมาก่อน ศาลพิพากษาให้รอการลงโทษตามพระบรมราชวินิจฉัย เป็นผลให้จำเลยทั้ง 2 คดีมีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดีต่อไป เป็นที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการศาลยุติธรรมมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังกระแสพระราชดำรัสในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเหยียบกระทรวงยุติธรรม และศาลยุติธรรม นับตั้งแต่เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2495 “ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านทั้งหลายได้มีไมตรีจิตมาร่วมชุมนุมต้อนรับข้าพเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกัน การศาลยุติธรรมมีความสำคัญยิ่งประการหนึ่ง เพราะเป็นหลักประกันความปลอดภัยและความเที่ยงธรรมของคนทั้งประเทศ และเป็นอำนาจอธิปไตยส่วนหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าไปได้ก็ต่อเมื่อมีความยุติธรรมสม่ำเสมอเป็นหลักอันคนทั้งปวงพึงยึดถือเป็นที่พึ่งได้เนืองนิจ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งที่จะได้ช่วยเหลือส่งเสริมให้การประสาทความยุติธรรมเจริญรุ่งเรืองสมควรแก่กาลสมัย ข้าพเจ้ามีความพอใจในประวัติของกระทรวงยุติธรรมและชื่อเสียงของศาลยุติธรรมที่ได้เป็นมา และความสามัคคีกลมเกลียวเป็นสมานฉันท์ของบรรดาข้าราชการกระทรวงยุติธรรม” ศาลยุติธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศและด้วยพระบรมเดชานุภาพของพระองค์ ทำให้ศาลในพระปรมาภิไธยมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี โดยปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ทำให้สามารถประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ยิ่งกว่านั้นในคดีอาญา เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วผู้ต้องคำพิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องยังมีโอกาสสุดท้ายที่จะยื่นเรื่องราวต่อองค์พระมหากษัตริย์ เพื่อขอรับพระราชทานอภัยโทษได้อีก องค์พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นผู้อำนวยความยุติธรรม และเป็นที่พึงสุดท้ายของประชาชนอย่างแท้จริงสืบมาแต่โบราณกาล
การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (1) : การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

โดย

คำบรรยายกฎหมายปกครอง ครั้งที่ 1 การแบ่งแยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน และ แนวคิดและปรัชญาของกฎหมายปกครอง ครั้งที่ 2 หลักพื้นฐานของกฎหมายปกครอง ครั้งที่ 3 โครงสร้างของฝ่ายปกครอง ครั้งที่ 4. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (1) : การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระบบราชการไทยแบ่งองค์กรออกเป็น 3 ส่วน คือ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค และระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินทั้ง 3 ส่วน ใช้หลักการรวมอำนาจปกครองและหลักการกระจายอำนาจผสมกัน กล่าวคือ ระหว่างราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคใช้หลักรวมอำนาจปกครอง สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นใช้หลักการกระจายอำนาจปกครอง 4.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่ดิน พ.ศ. 2534 ได้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางว่า ได้แก่ สำนักรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ทบวงซึ่งสังกัดสำนักรัฐมนตรีหรือกระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง 4.1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 7 วรรคสอง บัญญัติให้มีสำนักรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวงและในวรรค 3 ของมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย ภายในสำนักนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และไม่อยู่ภายใต้ กระทรวง ทบวง กรมใด ปัจจุบันมีส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ทั้งสิ้น 12 ส่วนราชการ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยส่วนราชการจำนวน 9 แห่ง คือ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการอีก 3 แห่ง ซึ่งอยู่ในสำนักนายกรัฐมนตรีเช่นกัน คือ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น อยู่ใต้บังคับบัญชาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักรัฐมนตรีและให้มีรองนายกรัฐมนตรี หรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ 4.1.2 กระทรวง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 8 บัญญัติกระทรวงมีส่วนราชการภายใน ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และหากกระทรวงใดมีความจำเป็นที่จะต้องมีส่วนราชการเพื่อจัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง ก็สามารถขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายใน ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงก็ได้ ในกระทรวงมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรับสภาหรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนด อนุมัติ โดยจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ในกระทรวง มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการรับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง ในการปฏิบัติราชการของปลัดกระทรวง ให้มีรองปลัดกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการตามที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย แต่ถ้าหากกระทรวงใดมีการจัดกลุ่มภารกิจ จะให้มีรองปลัดกระทรวง้พิ่มขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจก็ได้ หรือถ้าหากกระทรวงใดมีภารกิจเพิ่มขึ้นก็อาจมีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นได้ตามกระบวนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สำนักงานรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงและราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ ในปัจจุบัน เมื่อนับรวมสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีฐานะดป็นกระทรวงด้วยแล้ว ประเทศไทยมีกระทรวงรวมทั้งสิ้น 20 กระทรวงด้วยกันคือ (๑) สำนักนายกรัฐมนตรี (๒) กระทรวงกลาโหม (๓) กระทรวงการคลัง (๔) กระทรวงการต่างประเทศ (๕) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (๖) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (๗) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (๘) กระทรวงคมนาคม (๙) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๑๐) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (๑๑) กระทรวงพลังงาน (๑๒) กระทรวงพาณิชย์ (๑๓) กระทรวงมหาดไทย (๑๔) กระทรวงยุติธรรม (๑๕) กระทรวงแรงงาน (๑๖) กระทรวงวัฒนธรรม (๑๗) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (๑๘) กระทรวงศึกษาธิการ (๑๙) กระทรวงสาธารณสุข (๒๐) กระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นในหัวข้อ 4.1.1 ดังนั้น ในที่นี้จึงขอนำเสนออำนาจหน้าที่และการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวงทั้ง 19 แห่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 4.1.2.1 กระทรวงกลาโหม มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงกลาโหม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงกลาโหม ส่วนการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมนั้น มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น ซึ่งต่อมาก็ได้มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 มาตรา 10 กำหนดให้กระทรวงกลาโหมมีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมราชองครักษ์ (๔) กองทัพไทย โดยในกองทัพไทยนั้น มาตรา 17 พระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้ประกอบด้วย ส่วนราชการดังต่อไปนี้คือ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ 4.1.2.2 กระทรวงการคลัง มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการคลัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินการคลังแผ่นดิน การประเมินราคาทรัพย์สิน การบริหารพัสดุภาครัฐ กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินของแผ่นดินภาษีอากรการรัษฎากร กิจการหารายได้ที่รัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการอื่น การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการคลังนั้น มาตรา 11แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงการคลัง มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมธนารักษ์ (๔) กรมบัญชีกลาง (๕) กรมศุลกากร (๖) กรมสรรพสามิต (๗) กรมสรรพากร (๘) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (๙) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (๑๐) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 4.1.2.3 กระทรวงการต่างประเทศ มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ และราชการอื่นตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการต่างประเทศนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศมีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการกงสุล (๔) กรมพิธีการทูต (๕) กรมยุโรป (๖) กรมวิเทศสหการ (๗) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (๘) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย (๙) กรมสารนิเทศ (๑๐) กรมองค์การระหว่างประเทศ (๑๑) กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ (๑๒) กรมอาเซียน (๑๓) กรมเอเชียตะวันออก (๑๔) กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา 4.1.2.4 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษาด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานั้น มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (๔) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว 4.1.2.5 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัว และชุมชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (๔) สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (๕) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ 4.1.2.6 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายใน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมชลประทาน (๔) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (๕) กรมประมง (๖) กรมปศุสัตว์ (๗) กรมพัฒนาที่ดิน (๘) กรมวิชาการเกษตร (๙) กรมส่งเสริมการเกษตร (๑๐) กรมส่งเสริมสหกรณ์ (๑๑) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (๑๒) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (๑๓) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 4.1.2.7 กระทรวงคมนาคม มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่ง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงคมนาคม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงคมนาคมนั้น มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้กระทรวงคมนาคมมีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (๔) กรมการขนส่งทางบก (๕) กรมการขนส่งทางอากาศ (๖) กรมทางหลวง (๗) กรมทางหลวงชนบท (๘) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร 4.1.2.8 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวน อนุรักษ์ และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมควบคุมมลพิษ (๔) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (๕) กรมทรัพยากรธรณี (๖) กรมทรัพยากรน้ำ (๗) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (๘) กรมป่าไม้ (๙) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (๑๐) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (๑๑) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.1.2.9 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม พัฒนา และดำเนินกิจการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การอุตุนิยมวิทยา และการสถิติ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้น มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมไปรษณีย์โทรเลข (๔) กรมอุตุนิยมวิทยา (๕) สำนักงานสถิติแห่งชาติ 4.1.2.10 กระทรวงพลังงาน มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงพลังงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหา พัฒนาและบริหารจัดการพลังงาน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพลังงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพลังงาน ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงพลังงานนั้น มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงพลังงาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (๔) กรมธุรกิจพลังงาน (๕) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (๖) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน 4.1.2.11 กระทรวงพาณิชย์ มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงพาณิชย์นั้น มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการค้าต่างประเทศ (๔) กรมการค้าภายใน (๕) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (๖) กรมทรัพย์สินทางปัญญา (๗) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (๘) กรมส่งเสริมการส่งออก 4.1.2.12 กระทรวงมหาดไทย มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมืองและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงมหาดไทยนั้น มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทย มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการปกครอง (๔) กรมการพัฒนาชุมชน (๕) กรมที่ดิน (๖) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๗) กรมโยธาธิการและผังเมือง (๘) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 4.1.2.13กระทรวงยุติธรรม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมเสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม ส่วนการจัดรเบียบภายในกระทรวงยุติธรรมนั้น มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงยุติธรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมคุมประพฤติ (๔) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (๕) กรมบังคับคดี (๖) กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน (๗) กรมราชทัณฑ์ (๘) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (๙) สำนักงานกิจการยุติธรรม (๑๐) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี (๑๑) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 4.1.2.14 กระทรวงแรงงาน มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงแรงงาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารและคุ้มครองแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงแรงงานหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงแรงงาน ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงแรงงานนั้น มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงแรงงาน มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการจัดหางาน (๔) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (๕) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (๖) สำนักงานประกันสังคม 4.1.2.15 กระทรวงวัฒนธรรม มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงวัฒนธรรมนั้น มาตรา 37แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวัฒนธรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการศาสนา (๔) กรมศิลปากร (๕) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (๖) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 4.1.2.16 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น มาตรา 39แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (๔) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 4.1.2.17 กระทรวงศึกษาธิการ มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนการจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการนั้น มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ซึ่งต่อมาก็ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 10 กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ มีส่วนราชการดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4.1.2.18 กระทรวงสาธารณสุข มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงสาธารณสุขนั้น มาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมการแพทย์ (๔) กรมควบคุมโรค (๕) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (๖) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (๗) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (๘) กรมสุขภาพจิต (๙) กรมอนามัย (๑๐) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 4.1.2.19 กระทรวงอุตสาหกรรม มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนการจัดระเบียบราชการภายในกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น มาตรา 45 มีแห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรม มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง (๓) กรมโรงงานอุตสาหกรรม (๔) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (๕) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (๖) สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (๗) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (๘) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี (๙) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 4.1.3 กรม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมไว้ว่ามีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแห่งส่วนราชการของกรม หรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรม โดยในกรมหนึ่งมีอธิบดีหนึ่งคนเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เกิดผลตามเป้าหมาย แนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะมีรองอธิบดีเพื่อช่วยอธิบดีปฏิบัติราชการได้ กรมอาจแบ่งส่วนราชการได้เป็น 2 ประเภทคือ สำนักงานเลขานุการกรมและกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเทากอง โดยสำนักงานเลขานุการกรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรมและราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ มีเลขานุการกรม ส่วนกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองหรือส่วนราชการอื่นนอกเหนือจากนั้น ให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ โดยให้มีผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากองหรือหัวหน้าส่วนราชการอื่นนอกจากนั้น เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ 4.1.4 ส่วนราชการไม่มีสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 กำหนดให้มี ส่วนราชการซึ่งไม่อยู่ในสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง จำนวน 9 แห่งคือ (๑) สำนักราชเลขาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในพระองค์พระมหากษัตริย์ (๒) สำนักพระราชวัง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการพระราชวัง ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ (๓) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพัฒนาพระพุทธศาสนาและดูแลรักษาศาสนสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๔) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (๕) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๖) ราชบัณฑิตยสถาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ทางวิชาการและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๗) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๘) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๙) สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ส่วนราชการทั้งหมดมีฐานะเป็นกรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี เว้นแต่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดที่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 4.1.5 การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน โดยที่สภาพปัญหาของระบบราชการไทยที่ผ่านมาประการหนึ่งคือความล่าช้าในการปฏิบัติงานซึ่งมีผลทำให้ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และเป็นที่มาของการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานในภาคราชการว่าไม่โปร่งใส ประชาชนมีความไม่ไว้วางใจและเกิดความเบื่อหน่ยในการทำงานของภาคราชการ สาเหตุที่ทำให้การบริหารราชการมีความล่าช้านั้นเกิดจากหลายสาเหตุ และสาเหตุประการสำคัญประการหนึ่งคือ งานภาคราชการมีขอบเขตกว้างขวาง และมีขั้นตอนการปฏิบัติงานมาก ซึ่งการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ต้องแก้ไขด้วยการกระจายอำนาจการตัดสินใจ เพื่อมิให้ทุกเรื่องไปกระจุกตัวอยู่ที่ผู้บังคับบัญชาเพียงผู้เดียว กล่าวคือถ้าเรื่องใดที่ต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการใดๆ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาตำแหน่งใด ก็ต้องให้มีการมอบอำนาจการตัดสินใจในเรื่องต่างๆเหล่านั้นลงไปสู่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเรื่องนั้นโดยตรง แต่โดยที่มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เคร่งครัดมาก กล่าวคือได้กำหนดตำแหน่งของบุคคลเจ้าของอำนาจที่จะเป็นผู้มอบอำนาจและตำแหน่งของบุคคลผู้รับมอบอำนาจไว้ตายตัว จึงทำให้การมอบอำนาจดังกล่าวไม่สามารถมอบอำนาจให้แก่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนั้นโดยตรง ตัวอย่างเช่น ในเรื่องการอนุมัติ หรือการออกใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการบางอย่างซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของอิบดี กรณีเช่นนี้แม้ว่าจะเป็นอำนาจตามกฎหมายแต่ก็มิใช่อำนาจเฉพาะตัว แต่อธิบดีสามารถมอบอำนาจการออกใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่รองอธิบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าได้ตามมาตรา 38 (7) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เท่านั้น จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวข้างต้นทำให้การมอบอำนาจมีการกระจุกตัวและเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ในปัจจุบันกระทรวงต่างๆ ได้มีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมตามที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอืนใดให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการสร้างมาตรการในการลดขั้นตอนในการขอรับบริการจากภาครัฐในการที่ประชาชนไม่ต้องลำบากและเสียเวลาในการติดต่อกับราชการ แต่ปรากฏว่ามีงานบริการหลายเรื่องที่ไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นกระบวนงานได้ที่ศูนย์บริการร่วม โดยจะต้องส่งกลับไปยังผู้มีอำนาจวินิจแยของแต่ละส่วนราชการเพื่อสั่งการ อนุมัติ หรืออนุญาตก่อน ทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการแก่ประชาชน ฉะนั้น จึงควรที่จะให้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติ การอนุญาต การออกคำสั่ง การปฏิบัติราชการหรือดำเนินการอื่นตามกฎหมาย หรือกฎอื่น สามารถมอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องให้กับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมดังกล่าวได้ จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวข้างต้น จึงมีการแก้ไขในส่วนของหลักการในเรื่องการมอบอำนาจใหม่ โดยไม่จำกัดตำแหน่งของผู้รับมอบอำนาจทำให้สามารถมอบอำนาจลงไปได้ถึงระดับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง การกำหนดให้มีการมอบอำนาจต่อได้ รวมทั้งให้มีการมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งในกระทรวงได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้คล่องตัวมากขึ้น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติแยกการมอบอำนาจออกเป็น 2 ลักษณะคือ การมอบอำนาจการปฏิบัติราชการทั่วไป และการมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมายที่บัญญัติให้ออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ 4.1.5.1 การมอบอำนาจการปฏิบัติราชการทั่วไป บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ดังนี้ มาตรา 38 อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งอาจกำหนดให้มีการมอบอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตลอดจนการมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมสัญญา ฟ้องคดีและดำเนินคดี หรือกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขในการมอบอำนาจหรือที่ผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติก็ได้ 4.1.5.2 การมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมายทีบัญญัติให้ออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ การมอบอำนาจการอนุญาตตามกฎหมายได้บัญญัติไว้มาตรา 38 วรรคสามและวรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยเฉพาะพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 ดังต่อไปนี้ “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับอำนาจในการอนุญาตตามกฎหมายที่บัญญัติให้ต้องออกใบอนุญาตหรือที่บัญญัติผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ ในกรณีเช่นนั้นให้ผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวมีอำนาจมอบอำนาจให้ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ว่าราชการจังหวัดได้ตามที่เห็นสมควร หรือตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดในกรณีมอบอำนาจได้ต่อไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้มอบอำนาจกำหนด ในกรณีตามวรรคสาม เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดรายชื่อกฎหมายที่ผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวอาจมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็ได้” 4.1.5.3 วิธีการมอบอำนาจ มาตรา 38 วรรค 5 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญัติให้การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ 4.1.5.4 การมอบอำนาจช่วง มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติถึงการมอบอำนาจช่วงไว้ว่าเมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น โดยผู้มอบอำนาจจะกำหนดให้ผู้รับมอบอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไป โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ในกรณีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดคณะรัฐมนตรีจะกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมอบอำนาจต่อไปให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดก็ได้ 4.1.6 การรักษาราชการแทน มาตรา 41 ถึงมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดถึงหลักเกณฑ์การรักษาแทนในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือกรณีมีตำแหน่งว่างลงและยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดเข้ามาดำรง....ไว้ สรุปได้ดังนี้คือ (1) ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน (2) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหลายคน ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่ง (ซึ่งอาจจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอื่นก็ได้) เป็นผู้รักษาราชการแทน (3) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองปลัดกระทรวงหลายคน ให้นายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งรองปลัดกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่า (เช่น ผู้ตรวจราชการระดับ 10 หรืออธิบดีกรมหนึ่งกรมใด) เป็นผู้รักษาราชการแทน (4) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองอธิบดีหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองอธิบดีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดี (เช่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ) หรือข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน แต่ถ้านายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเห็นสมควรเพื่อความเหมาะสมแก่การรับผิดชอบการฏิบัติราชการในกรมนั้น นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการคนใดคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือเทียบเท่า ( ซึ่งอาจจะอยู่ที่กรมอื่น ) เป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้ (5) ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ อธิบดีจะแต่งตั้งข้าราชการในกรมซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดีหรือข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รักษาราชการแทนได้ (6) ให้ผู้รักษาราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผึ่งตนแทน (7) ในกรณีที่ผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งใดมอบอำนาจให้ผุ้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบอำนาจ (8) ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้นในการรักษาราชการแทน เชิงอรรถ 1. มาตรา 10 วรรค 2 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 2. มาตรา 20 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 3. มาตรา 21 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 4. มาตรา 22 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 5. มาตรา 23 แห่งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 6. มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กร พ.ศ. 2545 7. มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2537 8. มาตรา 33 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2537 9. มาตรา 33 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2537 10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2550, สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, กุทชมภาพันธ์ 2551 หน้า 11-13 อ่านต่อ ครั้งที่ 5 การจัดระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน (2) : การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 6 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (3) : วิวัฒนาการของการปกครองส่วนท้องถิ่น : ๑๐๐ ปีแห่งการรอคอย ครั้งที่ 6 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (4) : การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 7 รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ครั้งที่ 8 การดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครอง (หน้าที่1) ครั้งที่ 8 การดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครอง (หน้าที่ 2) ครั้งที่ 9 เครื่องมือในการดำเนินงานของฝ่ายปกครอง ครั้งที่ 10 การควบคุมฝ่ายปกครอง ครั้งที่ 11 กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ ครั้งที่ 12 กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ครั้งที่ 13 กฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง